รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัด กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24

Main Article Content

อุมาพร ธรรมสมบัติ
ธวัชชัย ไพใหล
สายันต์ บุญใบ

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกอง กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัด กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน  สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัด กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 เป็นครูใหญ่และครูฝ่ายวิชาการในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัด กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 จำนวน 36 คน จาก 18 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบบประเมินภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1.องค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน  สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่  24  ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 47 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) ด้านคุณธรรม  จริยธรรม  มี 10 ตัวบ่งชี้  2) ด้านวิสัยทัศน์  มี 9 ตัวบ่งชี้   3) ด้านวิชาการ     มี 19  ตัวบ่งชี้   4) ด้านการเปลี่ยนแปลง มี 9 ตัวบ่งชี้  2.รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน  สังกัด  กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 ประกอบด้วย 1) หลักการ        2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการ และ 5) การวัดและประเมินผล และ 3.ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน  สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 พบว่า หลักการ, วัตถุประสงค์, เนื้อหา, กระบวนการพัฒนาและการวัดและประเมินผล มีความเหมาะสมมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐานข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดอุดรธานี. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563, จาก http://is.udru.ac.th/local-scholars/bpps.html.

ฐิติมา ไชยมหา. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ แก้ไขครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.

ปิลัญ ปฏิพิมพาคม. (2550). รูปแบบภาวะผู้นำและประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับการศึกษา ขึ้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

รัตติยา พร้อมสิ้น. (2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11. ( วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

รัษฎากร อัครจันทร์. (2560). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

วิศิษฎ์ มุ่งนากลาง. (2555). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 11. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2558). กองบัญชาการตำรวจตระเวน ชายแดน, 2556.

สุรพล บุญมีทองอยู่. (2556). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดกลาง : การวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก. (วิทยานิพนธ์คุรุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ สกลนคร).

Coyle, Anne F. (1997). The ASTD Trainer’s Sourcebook Leadership. New York: McGrow-Hill Companies, 12-14.

Daft, Richard L. (2008). The leadership experience. (4th ed.) Mason, OH: Thomson South- Western, 38-42.