แนวทางการจัดการน้ำเสียบึงหนองโคตรของเทศบาลตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ปิยธิดา ศรีพล
รัชดา ภักดียิ่ง
พรสวรรค์ ชัยมีแรง
รุ่งนภา กิตติลาภ
อณพสิษฐ ไชยเชษฐ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประเภทและสาเหตุของน้ำเสียในบึงหนองโคตรตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาบทบาทของเทศบาลตำบลบ้านเป็ดในการจัดการน้ำเสีย 3) เพื่อหาแนวทางในการจัดการน้ำเสียบึงหนองโคตรใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้ให้ข้อมูล 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแนวทางการสังเกต นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)         
         
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเภทของน้ำเสียเป็นน้ำเสียประเภทที่มีสารอินทรีย์ ประเภทที่มีสารอนินทรีย์ ประเภทอิฐ หิน ดิน ทรายและปูน ประเภทที่มีความเป็นกรด – เบส สูง ประเภทมีกลิ่นเหม็นเน่า เวลาอากาศร้อน สาเหตุน้ำเสียเกิดจากชุมชนน้ำเสียที่เกิดจากการประกอบอาหารและชำระล้างสิ่งสกปรกภายในครัวเรือน และตลาด 2) บทบาทของเทศบาลในการจัดการน้ำเสีย เทศบาลได้มีการสำรวจปัญหาความต้องการของชุมชน ได้มีการจัดทำแผนที่ (แผนที่ภาษี) มีการจัดประชุมอภิปรายหารือกับหน่วยงานสิ่งแวดล้อมจังหวัดขอนแก่น  เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียบึงหนองโคตร ได้มีการจัดการกับน้ำเสียที่เกิดขึ้นในบึงหนองโคตรโดยการดำเนินการจัดระบบเก็บกักน้ำทำให้น้ำในบึงหนองโคตรเจือจางในฤดูฝนและจัดหาเครื่องเติมอากาศเพื่อเพิ่มระดับออกซิเจนในน้ำ 3) แนวทางการพัฒนาบทบาทของเทศบาลตำบลบ้านเป็ดในการจัดการน้ำเสีย ควรจัดทำแผนแม่บท (Master Plan) ในการจัดการน้ำเสียโดยภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชนมีส่วนร่วม ลดปริมาณน้ำท่วมขัง และภาคครัวเรือนควรบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยน้ำทิ้ง สนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนมีความตื่นตัวในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม       

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). การจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2563 จาก https://www.mhesi.go.th/main/th/492-library/genius-of-king/7377-2018-06-20-03-47-44.

ดรุณี ศรีวิไล. (2555). การจัดการน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

เทศบาลตำบลบ้านเป็ด. (2561). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน.สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2563 จาก http://www.banped.org/content.php?name=general.

พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2563, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/050/T_0164.PDF

สันชัย พรมสิทธิ์.(2562). การจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดใหญ่ กลาง เล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(1), 67-81.

สำนักงานสถิติจังหวัดขอนแก่น. (2561). รายงานสถิติจังหวัดขอนแก่น.สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2563 จาก http://khonkaen.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=724&Itemid=744

อุมาวรรณ วาทกิจ และวรวิช โกวิทยากร. (2562). ผลกระทบโรงงานแปรรูปขยะมูลฝอยเป็นพลังงานไฟฟ้าสถานีกำจัดขยะ เทศบาลนครขอนแก่น. (รายงานการวิจัย).ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.