ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

ชัชากร คัชมาตย์
เจน จันทรสุภาเสน
อำพล ชะโยมชัย

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง (2) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง (3) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง (4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรฝ่ายวิชาการ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง จำนวนทั้งสิ้น 306 คน ใช้วิธีเลือกสุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มเป็นระดับชั้นอย่างเป็นสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.953 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่า t-test, F-test และใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) ในการทดสอบความสัมพันธ์ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่างโดยรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.87 2) ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่างโดยรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 3) ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง พบว่า บุคลากรที่มีเพศต่างกัน จะมีความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกัน ส่วนบุคลากรที่มีอายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน จะมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานมีความสัมพันธ์ เชิงบวกในระดับมากกับความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองการเจ้าหน้าที่. (2561). ข้อมูลบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.สืบค้นเมื่อวันที่7 กันยายน 2561,จาก http://personnel.kpru.ac.th.

___________________. (2561). ข้อมูลบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2561,จาก http://personnel.nsru.ac.th.

___________________.(2561). ข้อมูลบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2561,จาก http://personnel.psru.ac.th.

___________________. (2561).ข้อมูลบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2561, จาก http://person.pcru.ac.th.

จิระพร จันทรภาโส. (2558). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.(สารนิพนธ์ปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่).

ฉัตรชัย ชุมวงศ์. (2554). คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การกับความตั้งใจลาออกของนักงาน ระดับปฏิบัติการ : กรณีศึกษาบริษัทฟาร์มเลี้ยงไก่ปู่-ย่าพันธุ์แห่งหนึ่ง. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ. : จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทัศนีย์ ชาติไทย. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ.: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นัชชา เยี่ยมภพ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน ในบริษัทซับคอนแทรคในสายงานโทรคมนาคม.วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ,3(1), 33-41.

ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ.(2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในกลุ่มอุตสาหกรรม.(รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ. : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ผจญ เฉลิมสาร. (2556). คุณภาพชีวิตการทำงาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2561,จาก http://www.msociety. go.th/document/article/article_3489.doc.

วรรณิภา นิลวรรณ. (2554). ความผูกพันต่อองค์การข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี.(การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

วรารักษ์ ลีเลิศพันธ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทเนชั่นบรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่นจำกัดมหาชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น).

ศรัณย์ พิมพ์ทอง. (2557). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิผลต่อการคงอยู่ในองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,37(142),16-32.

เศรษฐศาสตร์ ไชยแสง. (2553). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรวิทยาลัยราชพฤกษ์.นนทบุรี:ศูนย์วิจัยและพัฒนา วิทยาลัยราชพฤกษ์.

สมจิตร จันทร์เพ็ญ. (2557). ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).(การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

Allen, N.J. and Meyer, J.P. (1990).The Measure and Antecedents of Affective, Continuance and Normative Commitment.Journal of Occupational Psychology, 63(10),1-18.

Walton, R. E. (1975). Criteria for Quality of Working Life.NewYork: Free Press.