การลดความสูญเปล่าในกระบวนการติดตั้งอินเทอร์เน็ต ด้วยการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ กรณีศึกษาธุรกิจให้บริการติดตั้งอินเทอร์เน็ต จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

นริศรา เม้าเวียงแก
ปณัทพร เรืองเชิงชุม

บทคัดย่อ

          การลดความสูญเปล่าในกระบวนการติดตั้งอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการลดข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน โดยอาศัยการระบุกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าร่วมกับการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการลดความสูญเปล่าในกระบวนการติดตั้งอินเทอร์เน็ต ด้วยการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก 15 ราย ด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ร่วมกับวิเคราะห์พิมพ์เขียวบริการ ตลอดจนวิเคราะห์คุณค่ากิจกรรม การระบุข้อบกพร่อง แผนภูมิพาเรโต การหาสาเหตุการเกิดข้อบกพร่องโดยการตั้งคำถามทำไมร่วมกับการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ และการหาแนวทางการลดข้อบกพร่องด้วยการตั้งคำถามอย่างไรร่วมกับแผนผังต้นไม้ ผลการวิจัยพบว่า เมื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการติดตั้งอินเทอร์เน็ต ด้วยการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ สามารถลดจำนวนที่เกิดข้อบกพร่องจาก 1,781 ครั้งต่อปี เหลือ 1,396 ครั้งต่อปี หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 21.62 ผู้วิจัยจึงเสนอให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญต่อการลดข้อบกพร่องด้วยการลดความสูญเปล่า เพื่อสามารถควบคุมคุณภาพในกระบวนการติดตั้งอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของธุรกิจให้บริการติดตั้งอินเทอร์เน็ตได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

นริศรา เม้าเวียงแก, นักศึกษา วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

Education

  • Bachelor of Public Administration  (Personal Management)

    PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY , THAILAND

  • Master of Business (Operations Management)

            UNVERSITY OF WESTERN SYDNEY, AUSTRALIA

  • Doctor of Professional Studies

           CENTRAL QUEENSLAND UNIVERSITY, AUSTRALIA

References

ปรีชา ขันทอง และศิษฎา สิมารักษ์. (2558). การประยุกต์ใช้ระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001: 2008 ในการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการน้ำประปาของการประปาเทศบาล ตำบลตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. Research Journal PhranakhonRajabhat: Science and Technology, 10(1), 7-19.

ฝ่ายประสานงานและควบคุมระบบ ห้างหุ้นส่วนจำกัดเอสเคเทเลคอม เซลล์แอนด์เซอร์วิส. (2563). รายงานข้อมูลงานติดตั้งอินเทอร์เน็ตประจำปี 2561. ขอนแก่น: ห้างหุ้นส่วนจำกัดเอสเคเทเลคอมเซลล์แอนด์เซอร์วิส.

พงษธร เทพไกรวัล, อารีย์ นัยพินิจ, สุกานดา นาคะปักษิณ, และ ฐิติวรรณ ศรีเจริญ. (2563). การบริหารจัดการอุปทานผลิตเศษแก้วโรงงานแปรรูปขวดแก้วเพื่อรีไซเคิล. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(1), 19-33.

พิทธินันท์ สมไชยวงค์, นิติพงษ์ สมไชยวงค์, สมพงษ์กูลแล, และ วุฒิชัย คิดดี. (2561). การศึกษาการประหยัดพลังงานไฟฟ้าโดยใช้มาตรฐานการควบคุมคุณภาพซิกซ์ซิกม่า. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, (7)2, 89-105.

สำนักวิชาการและจัดการทรัพยากรโทรคมนาคม สายงานกิจการโทรคมนาคม. (2562). รายงานสภาพตลาดโทรคมนาคมประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2562, สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2563, จาก http://www.nbtc.go.th/Business/commu/telecom/informatiton/research/รายงานสภาพตลาดโทรคมนาคม/markettelecom62.aspx

สุริยันต์ จอมธนชัย, วนิดา รัตนมณี, และ รัญชนา สินธวาลัย. (2559). การประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ลักษณะข้อผิดพลาดและผลกระทบสำหรับระบบการทวนสอบปริมาณการผลิตในโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา: กรณีศึกษา. วารสารวิชาการพระจอมเกล้า พระนครเหนือ, 26(1), 61-73.

อนุภาพ วิตรสุขุมาลย์ และ ณฐาคุปตัษเฐียร. (2558). การปรับปรุงคุณภาพงานบริการของห้องปฏิบัติการสอบเทียบเครื่องมือวัดโดยการบูรณาการเครื่องมือวัดคุณภาพบริการ SERVQUAL และแบบจำลองของคาโนไปยัง QFD. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี, (13)1.

Amrina, E., Kamil, I., &Rahmad, D. (2019). Waste assessment using a lean approach in receiving process of container terminal: a case of TelukBayur Port. In IOP Conference Series: Materials Science and Engineering, 602(1), 012050.

Bonaccorsi, A., Carmignani, G., &Zammori, F. (2011). Service value stream management (SVSM): developing lean thinking in the service industry. Journal of Service Science and management, 4, 428-439.

Chuang, P. T. (2014). Combining service blueprint and FMEA for service design. The Service Industries Journal, 27(2), 91-104.

Dilton-Hill, K. (2015). Lean in Finance. Journal of Corporate Accounting & Finance, 26(3), 15-25.

Dudek-Burlikowska, M. (2011). Application of FMEA method in enterprise focused on quality. Journal of achievements in Materials and Manufacturing Engineering, 45(1), 89-102.

Durivage, M. A. (Ed.). (2016). The Certified Pharmaceutical GMP Professional Handbook. Wisconsin: ASQ Quality Press.

Guo, H., Zhang, R., Chen, X., Zou, Z., Qu, T., Huang, G., et al. (2019). Quality control in production process of product-service system: A method based on turtle diagram and evaluation model. Procedia CIRP, 83, 389-393.

Jain, K. (2017). Use of failure mode effect analysis (FMEA) to improve medication management process. International Journal of Health Care Quality Assurance, 30(2), 175–186.

Joshi A. and Jugulkar L. M. (2014). Investigation and analysis of metal casting defects and defect reduction by using quality control tools. International journal of mechanical and production engineering, 86-91.

Kerber, B. &Dreckshage, B.J. (2017). Lean Supply Chain Management Essentials: A Frameworkfor Materials Managers. The United States of America: CRC Press.

Kowalik, K. (2018). Six Sigma as a method of improving the quality of service process. Production Engineering Archives, 19, 10-15.

Mahesh, B.P. &Prabhuswamy M.S. (2011). Process variability reduction through statistical process control for quality improvement. International Journal for Quality research, 4(3), 193-203.

Pareek, P. K., Nandikolmath, T. V., & Gowda, P. (2012). FMEA implementation in a foundry in bangalore to improve quality and reliability. Mechanical Engineering and Robotics Search, 1(2), 82-87.

Rana, M., Zhang, X., &Akher, S. A. (2018). Determination of Factors and Quality Control of Car Painting Based on FMEA and SPC. V2. Modern Mechanical Engineering, 8, 158-177.

Tague, N. R. (2015). The Quality Toolbox. (2nd ed). Milwaukee: ASQ Quality Press. Wisconsin: ASQ Quality Press.

Zeng, S. X., Tam, C.M., and Tam, V.W.Y. (2010). Integrating Safety, Environmental and Quality Risks for Project Management Using a FMEA Method. Engineering Economics, 66(1).