การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ด้วยการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบร่วมมือจากนิทาน

Main Article Content

จงจิต เค้าสิม
วิราณี สุขทรัพย์
อัญชลี ชัยรัชตกุล
เพ็ญจันทร์ บุพศิริ
สุริยาภรณ์ ทิพมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบร่วมมือจากนิทาน  2) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบร่วมมือจากนิทาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียน  ที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 42 คน ของโรงเรียนอนุบาลขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย เพื่อนำมาเป็นกลุ่มตัวอย่าง ในการดำเนินการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบร่วมมือจากนิทาน ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเอง ใช้ระยะเวลา 12 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ 45 นาที รวมทั้งสิ้น 36 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ร่วมมือจากนิทาน และแบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย เป็นแบบทดสอบสถานการณ์ปัญหาที่มีตัวเลือกเป็นภาพวาดการ์ตูน 3 ตัวเลือก ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.71 แบบแผนการวิจัยเป็น The One – Group Pretest – Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ t – test แบบ Dependent Samples  ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบร่วมมือจากนิทาน มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และหลังการทดลอง เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบร่วมมือจากนิทานมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเหมาะสมมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลยา ตันติพลาชีวะ. (2550). การใช้ศิลปะเป็นสื่อการเรียนรู้. วารสารการศึกษาปฐมวัย. 8(1), 31-38.

จิราภรณ์ แจ่มใส. (2559). ผลการใช้กิจกรรมศิลปะแบบร่วมมือประกอบการเล่านิทานในการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดวงพร ผกามาศ. (2554). ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหารประเภทขนมไทย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นภเนตร ธรรมบวร. (2551). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเลิศ สัมมณากุล และคณะ. (2553). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมฝึกทักษะการคิด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์) 4(2), พฤษภาคม-สิงหาคม 2553.

เปลว ปุริสาร. (2543). การศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วาทินี บรรจง. (2557). ผลการจัดประสบการณ์ศิลปะโดยบูรณาการแนวคิดเชิงออกแบบที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอนุบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรารัตน์ ธุมาลา. (2553). ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล. (2563). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ วิชากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 10(2), พฤษภาคม - สิงหาคม 2653, 22-40.

Isbell, R.T. and Raines, S.C. (2007). Creativity and the arts with young children. Canada : Thomson Delmar.

Vygotsky, L.S. (1976). Play and its role in the mental development of the child. In J.S. Bruner, A.

Jolly & K. Sylva (eds.), Play : Its role in development and evolution. Pp. 537-544.New York : Basic Books.

UNESCO. (1983). Study Group Meeting on New Forms of Pre - School Education New Delhi. Bangkok: UNESCO Region office For Educational in Asia and The Pacific.