การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำของคณะกรรมการสภานักเรียน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 และ 23

Main Article Content

เชษฐศักดิ์ คำมะวาปี
ปรีชา คัมภีรปกรณ์
สายันต์ บุญใบ

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำของคณะกรรมการสภานักเรียน 2) สร้างและพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำของคณะกรรมการสภานักเรียน 3) ตรวจสอบและประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำของคณะกรรมการสภานักเรียน ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1. ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำของคณะกรรมการสภานักเรียน 2. สร้างและพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำของคณะกรรมการสภานักเรียน 3. ตรวจสอบและประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมโดยการทดลองใช้ ตัวอย่างในการทดลองใช้โปรแกรม ประกอบด้วย คณะกรรมการสภานักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 และ 23 ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความรู้ และทักษะภาวะผู้นำก่อน และหลังการเข้าร่วมโปรแกรม และแบบประเมินความพึงพอใจโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบภาวะผู้นำคณะกรรมการสภานักเรียนมี 4 องค์ประกอบ คือ 1) มนุษยสัมพันธ์ 2) ความรับผิดชอบ 3) การตัดสินใจ และ 4) การสร้างทีมงาน 2. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำของคณะกรรมการสภานักเรียนมี 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) รูปแบบวิธีการเสริมสร้างภาวะผู้นำ 4) เนื้อหาสาระ 5) กิจกรรมการพัฒนา และ 6) การวัดและประเมินผล 3. ผลการประเมินประสิทธิผลของโปรแกรม โดยการทดลองใช้ พบว่า 1) ความรู้ และ ทักษะภาวะผู้นำของคณะกรรมการสภานักเรียนหลังการเข้าร่วมโปรแกรม สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และ 2) ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโปรแกรม และผู้สังเกตการณ์อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรี ต้นเชื้อ. (2555). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำของคณะกรรมการองค์การนักศึกษาอาชีวศึกษาในวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

ญดาภัค กัลปดี. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ของครูประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

นงราม ชลอเจริญยิ่ง. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ปฏิมา นรภัทรพิมล. (2561). การพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการสภานักเรียนระดับมัธยมศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนประชารัฐธรรมคุณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.9(1), 306-319.

ปิยะพันธ์ ชัยเสนา. (2557). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำของผู้นำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

พสุ เดชะรินทร์. (2555). มองมุมใหม่ ไขสมการความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ.

เพ็ญพร ทองคำสุก. (2553). ตัวแบบสมการโครงสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). คู่มือสภานักเรียน ปี 2557. กรุงเทพฯ: สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

สุเวศ กลับศรี. (2557). ภาวะผู้นำที่ควรพัฒนาในเยาวชน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 6(2), 132-140.

เอื้อนจิต พานทองวิริยะกุล และสัญญา เคณาภูมิ. (2561). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาสุขภาวะของประชาชนให้ยั่งยืน. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(1), 109.

John Score-Average. (2016). POTENTIAL จุดแข็งและขีดความสามารถสำหรับภาวะผู้นำ. สืบค้นเมื่อวันที่ , จาก http://www.hoganassessments.com/wp-content/uploads/2016/08/Potential_th.pdf