การจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความรู้ที่มีอยู่มากมายและกระจัดกระจายอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา ทั้ง Tacit Knowledge และ Explicit Knowledge นั้น ควรถูกจัดการให้เป็นระบบ มีคุณภาพ และสามารถถ่ายทอดความรู้ไปยังบุคลากรในสถาบันได้ ซึ่งหลักการสำคัญของการจัดการความรู้ในส่วนของ Tacit Knowledge คือ จะทำอย่างไรให้ Tacit Knowledge เป็น Explicit Knowledge ให้มากที่สุด แล้วนำ Explicit Knowledge ทั้งที่มาจากตัวบุคคลและ Explicit Knowledge ที่อยู่ในรูปแบบต่างๆ มาบริหารจัดการให้เป็นองค์ความรู้ที่มีคุณภาพและจัดเก็บอยู่ในระบบหรือคลังความรู้ของสถาบัน พร้อมที่จะถูกนำไปใช้ได้ตลอดเวลา การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) จึงเป็นวิธีการการบริหารจัดการความรู้วิธีการหนึ่ง ที่ช่วยรวบรวมความรู้ให้เป็นระบบ มีคุณภาพ และสามารถถ่ายทอดหรือแบ่งปันความรู้ไปยังบุคลากรอื่นในสถาบันเพื่อให้นำความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาตนเองและสถาบันได้ ซึ่งหากนำขั้นตอนของการจัดการความรู้มาดำเนินการตามหลักวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA Model) สามารถดำเนินการได้ โดย 1) ขั้นการวางแผน (Plan) เป็นขั้นตอนของการพิจารณาความต้องการของสถาบันว่าต้องการพัฒนาอะไรและต้องการความรู้อะไรเพื่อใช้ในการพัฒนา รวมทั้งวางแผนการแสวงหาความรู้เหล่านั้นว่าจะหาได้จากแหล่งใดบ้าง 2) ขั้นตอนการปฏิบัติ (DO) มีขั้นตอนย่อยคือ เสาะแสวงหาความรู้ (Knowledge Acquisition) กลั่นกรอง (Distill) ดำเนินการจัดการความรู้ (Operation) ปรับปรุง พัฒนาความรู้ สร้างความรู้บางส่วนเพิ่มเติมที่เหมาะกับการใช้งาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้ (Knowledge Sharing & Transfer) ประมวลความรู้ (Knowledge Codification) การจัดและเก็บรวมรวมความรู้ (Capture & Store) การใช้ความรู้ (Knowledge Use) 3) ขั้นตอนการตรวจสอบ (Check) เป็นขั้นการติดตาม ตรวจสอบ (Monitor) ประเมินผล (Evaluate) การนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินงาน เพื่อพิจารณาผลการใช้ความรู้ว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ และ 4) ขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสม (Action) เก็บความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีไว้เป็นองค์ความรู้ของสถาบัน และมีการปรับปรุงแก้ไขหากความรู้นั้นยังไม่สมบูรณ์
Article Details
References
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2557). การจัดการความรู้...ปัจจัยสู่ความสำเร็จ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5 (ฉบับพิเศษ), 134-146.
ฉัตรแก้ว ธีรเดชากุล. (2551). การบริหารจัดการความรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ณัฐวัฒน์ แซงภูเขียว. (2563). แนวทางการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของสังคมผู้สูงอายุ กรณีศึกษาโรงเรียนสร้างสุข-ผู้สูงวัย ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 10(2) , 68-79.
นวลลออ แสงสุข. (2550). การศึกษาจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
นิตยปภา จันทะปัสสา. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารงานบุคคลโรงเรียนบ้านดอนตูมดอนโด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 9(1) ,82-89.
ปณิตา พ้นภัย. (2544). การบริหารความรู้ (Knowledge Management) แนวคิดและกรณีศึกษา(รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปลื้มจิตต์ นาราภิรมย์ขวัญ. (2558). การจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชน. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้พื้นฐานและการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.
รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. การจัดการความรู้คืออะไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563, จาก Nan.mcu.ac.th/image
ลาวัลย์ สุขยิ่ง. (2550). การจัดการความรู้ในองค์กร กรณีศึกษา : หน่วยงานธุรกิจ CDMA บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน). (ภาคนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และ องค์การ, สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์).
วิจารณ์ พานิช. (2548). การจัดการความรู้กับการบริหารราชการไทย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
สมประสงค์ บุญยะชัย. (2554). เทคนิคความรู้ในการบริหารองค์การใหญ่ให้ประสบผลสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเอ ไอ เอส.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. การจัดการความรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 จาก https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/knowledge-management/3278-knowledge-management
เสกสรรค์ บิวศิลป์ศักดิ์. การจัดการความรู้สู่การบริหารองค์การที่เป็นเลิศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563, จาก https://jeal.snru.ac.th/Files/Article/649-ArticleTextFile