การจัดบริการสาธารณะโดยยึดหลักการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ชยาศีร์ บุญหลาย
เพ็ญณี แนรอท

บทคัดย่อ

          ค่านิยมภายใต้พาราไดม์การบริการสาธารณะแนวใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับค่านิยมประชาธิปไตยเน้นการมีส่วนร่วม ซึ่งส่งผลให้หลักการ แนวคิดและวิธีปฏิบัติของภาครัฐเกิดการเปลี่ยนแปลง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของการให้บริการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนในสถานพินิจฯ จังหวัดชัยภูมิ และการให้บริการสาธารณะแนวใหม่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนของสถานพินิจฯ จังหวัดชัยภูมิ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของสถานพินิจฯ จังหวัดชัยภูมิ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการฝึกอบรมเด็กและเยาวชน จำนวน 7 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปกครองของเยาวชนและประชาชนทั่วไปที่มาใช้บริการสถานพินิจฯ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 80 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา  ผลวิจัยพบว่า 1) รูปแบบของการให้บริการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนในสถานพินิจฯ จังหวัดชัยภูมิ ประกอบไปด้วยขั้นตอนการปฐมนิเทศ การฝึกและอบรม และเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย ซึ่งในปัจจุบันทางสถานพินิจฯ ได้เปิดโอกาสให้ชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ภายนอกทั้งภาครัฐบาลและเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกอบรมและเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัวเด็กและเยาวชนคืนสู่สังคม 2) การให้บริการสาธารณะแนวใหม่ของสถานพินิจฯ จังหวัดชัยภูมิ มีการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} =3.01, S.D.=.39) ประกอบด้วยมิติด้านการตระหนักถึงภาระความรับผิดชอบ (gif.latex?\bar{X} =3.70, S.D.=.30) ด้านการให้บริการพลเมืองไม่ใช่การบริการลูกค้า (gif.latex?\bar{X} =3.30, S.D.=.33) ด้านการให้คุณค่าพลเมือง (gif.latex?\bar{X} =3.28, S.D.=.45) ด้านการให้บริการมากกว่าการกำกับดูแล (gif.latex?\bar{X} =2.98, S.D.=.45) และด้านการให้คุณค่ากับประชาชนไม่ใช่เน้นที่ผลผลิต (gif.latex?\bar{X} =2.92, S.D.=.61) ส่วนมิติด้านการคิดเชิงกลยุทธ์และการปฏิบัติอย่างเป็นประชาธิปไตย และด้านการแสวงหาผลประโยชน์สาธารณะ อยู่ในระดับน้อย (gif.latex?\bar{X} =2.44, S.D.=.40) และ (gif.latex?\bar{X} =2.43, S.D.=.60) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงษ์ พิพิธกุล. (2561). การจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(1), 97-106.

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2563, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF

นพพล อัคฮาด. (2559). กระบวนการขับเคลื่อนการจัดทำบริการสาธารณะระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับคณะทำงานชุมชนบนพื้นฐานแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่: กรณีศึกษาโครงการชุมชนตัวอย่างวัฒนธรรมสันติวิธีตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 9(1), 59-82.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.

ปกรณ์ ศิริประกอบ. (2558). 3 พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์: แนวคิด ทฤษฎีและการนำไปปฏิบัติจริง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พยุงศักดิ์ ทราบรัมย์. (2557). การนำแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ไปใช้ในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลในจังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพศาล บรรจุสุวรรณ์. (2559). การเคลื่อนตัวทางความคิดจากการบริหารรัฐกิจดั้งเดิม สู่การบริหารปกครองแบบประชาธิปไตย: ตัวอย่างบทวิเคราะห์ปัญหาด้านการศึกษาของประเทศไทย. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 5(1), 1-41.

สถานพินิจฯ จังหวัดชัยภูมิ. (2562). ข้อมูลเฉลี่ยของผู้มารับบริการในเดือนพฤศจิกายน 2562. ชัยภูมิ: สถานพินิจฯ จังหวัดชัยภูมิ.

สรัญพัทธ์ เอี๊ยวเจริญ และกุลสกาวว์ เลาหสถิตย์. (2562). การบริการสาธารณะแนวใหม่กับความสอดคล้องของวัฒนธรรมไทย. วารสารการเมืองการปกครอง, 9(3), 219-232.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2562). การบริหารราชการแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

อนุรัก ใจปันทา, วิทยา เจริญศิริ และศักดิ์พงษ์ หอมหวน. (2560). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประจำปี 2560, หน้า 1413-1424. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Bevir, M. (2013). Governance: A very short introduction. Oxford, UK: Oxford University.

Denhardt, J.V., & Denhardt, R.B. (2011). The new public service: Serving, not steering. 3rd ed. New York: M.E. Sharpe.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Osborne, David & Gaebler, Ted. (1992). Reinventing Government. M.A.: Addison-Wesley Publishing.