แนวทางพัฒนาคุณภาพการให้บริการร้านอาหารประเภทหมูกระทะ ของผู้ใช้บริการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

สรศักดิ์ พิลาเกิด
แก้วตา ผิวพรรณ
วศิน พรหมพิทักษ์กุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคร้านอาหารประเภทหมูกระทะ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อคุณภาพการให้บริการร้านอาหารประเภทหมูกระทะ 3) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการจำแนกตามพฤติกรรมผู้บริโภค 4) เพื่อหาแนวทางพัฒนาคุณภาพการให้บริการร้านอาหารประเภทหมูกระทะของผู้ใช้บริการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ใช้บริการจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน F-test เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่าข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใช้บริการส่วนใหญ่การรับประทาน/ใช้บริการร้านอาหารประเภทหมูกระทะ คือ แบบบุฟเฟต์  1) ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการต่อคุณภาพการให้บริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ในระดับมาก ส่วนความคิดเห็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรม 2)การเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการ จำแนกตามพฤติกรรมผู้บริโภค พบว่า ผู้ใช้บริการด้านค่าอาหารโดยเฉลี่ยต่อครั้งในการรับประทานที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพ การให้บริการไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ใช้บริการประเภทหมูกระทะความถี่ในการรับประทาน เหตุผลที่รับประทาน ปัญหาที่เคยใช้บริการ ร้านอาหารประเภทหมูกระทะที่รับประทาน เหตุผลที่เลือกรับประทานที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการต้องให้ความสำคัญกับตัวแปรทุกด้าน ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรม ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านการให้ความเชื่อมั่นลูกค้า และด้านการรู้จักและเข้าใจลูกค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร อ่ำคง. (2559). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคร้านหมูกระทะบุฟเฟ่ต์ในเขตเมืองพิษณุโลก. ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาววิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จตุรพร แก้วเหลือง และคณะ. (2563). พฤติกรรมและความต้องการบริโภคอาหารทะเลของลูกค้าที่มีต่อร้านอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ : กรณีศึกษาร้านหมูกระทะบุฟเฟ่ต์แห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7 เรื่อง "นวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาชุมชน" The 7th NEU National and International Conference 2020 (NEUNIC 2020): "Learning Innovation for Community Development" 30 พฤษภาคม 2563 ณ อาคารประภากรคอนเวนชั่นฮอลล์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, จังหวัดขอนแก่น.

ฐนกร เขียวสง่า และคณะ. (2558). ความพึงพอใจในการใช้บริการโรงอาหารของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 22 ธันวาคม 2558 ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ณัฐวุฒิ รุ่งเสถียรภูธร. (2558). ประเภทของร้านอาหาร คุณภาพของอาหาร คุณภาพการบริการ และสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารส่าหรับมื้อค่ำของประชากรในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นพรัตน์ บุญเพียรผล. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพบริการของธุรกิจร้านอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวนานาชาติในเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ใน วารสาร Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน.

นิชาภัทร อันนันนับ. (2559). คุณภาพการบริการและส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้านอาหารอิสลามในเขตกรุงเทพมหานคร. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นิตยา พร้าวราม. (2558). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว กลุ่มอาเซียน : กรณีศึกษา โรงแรมในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์การจัดการการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เบญชภา แจ้งเวชฉาย. (2559). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยากรุงเทพ.

พรประภา ไชยอนุกูล. (2557). คุณภาพการให้บริการของสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

พิมพ์สุภัค จิรสิทธิธำรง. (2558). ศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้านอาหาชาบูชิ บุฟเฟ่ต์ ที่ซีคอนบางแค. หลักสูตรธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสยาม.

วัชรินทร์ จันทร์สีมาวรรณ และคณะ. (2562). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของงานจัดเก็บรายได้การประปาส่วนภูมิภาค สาขามหาสารคาม. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

วิชยา ทองลัพท์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการร้านอาหารประเภทชาบูของ ผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์การบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิวพร ชนะนานนท์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจในการใช้บริการร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณทิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.

สัณห์จุฑา จํารูญวัฒน์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารประเภทฟูดทรัก (Food Truck) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Wongnai. (2561). สรุปข้อมูลและเทรนด์ธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทยสำหรับปี 2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2563, จาก https://www.wongnai.com/business-owners/thailand-restaurant-trend-2018?fbclid=IwAR3-AST4v45ohws8ZAJFltiQGNw5CYOjSr3sOhz7Vth_gtPbUFYY3-RjlNs.