วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการทอเสื่อกกลายธรรมชาติแบบพับ ขนาด 200x200 ซม. ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านแพง หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของผู้ทอเสื่อกกลายธรรมชาติแบบพับขนาด200x200 ซม. 2) เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทอเสื่อกกลายธรรมชาติแบบพับขนาด 200x200 ซม.และ 3).เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อต้นทุนกระบวนการผลิตเสื่อกก ทอเสื่อกกลายธรรมชาติแบบพับขนาด 200x200 ซม. กลุ่มตัวอย่าในการวิจัยได้มาจากแบบสอบถามผู้ทอเสื่อกก จำนวน 90 คน ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านแพง หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านแพงเป็นเพศหญิง มีอายุ 41-60 ปี มีระดับประถมศึกษา มีสถานภาพ สมรส มีประสบการณ์ทอเสื่อกก มากกว่า 15 ปี ได้รับความรู้และเทคนิคการทอเสื่อกกจากพ่อและแม่ และมีการจัดจำหน่ายผ่านกลุ่มผู้ผลิตเป็นสมาชิก 2) การผลิตเสื่อกกมีต้นทุนเฉลี่ย 244.60 บาทต่อผืน มีรายได้จากการขายเฉลี่ย 350 บาทต่อผืน มีกำไรจากการขายปลีกเสื่อกก 105 บาทต่อผืน 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตเสื่อกก มากที่สุดคือ ด้านวัตถุดิบ
Article Details
References
จุฑาธิป ศีลบุตร, รจิตพรรณ จันทราช และจิราพร ชมพิกุล. (2553). ปัจจัยของผู้นำวิสาหกิจผลิตภัณฑ์สมุนไพรชุมชนที่มีต่อความเข้มแข็งของวิสาหกิจผลิตภัณฑ์สมุนไพรชุมชน.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 30(4), 30-33.
ธณัฐ วรวัตน์ สัญญา เคณาภูมิ และเสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีในจังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิชาการและการวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 9(2), 71-80.
ผกามาศ มูลวันดี. (2560). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทอเสื่อกกของกลุ่มสตรี ในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งวัง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์.วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุริรัมย์.12(1), 8-16.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2552). วิธีวิจัยทางธุรกิจ.กรุงเทพฯ:บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.
ยุวดีพร ธาราพงศ์และคณะ. (2555). กระบวนการและรูปแบบของเสื่อกกเพื่อพัฒนาสู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์แนวศิลปะไทยร่วมสมัย.วารสารและการวิจัย มทร.พระนคร. 7(2), 131-138.
วิมลกานต์ จันทร์ประเสริฐ ทรงกลด พลพวก และสันธนะ ประสงค์สุข. (2561). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตเสื่อกกกลุ่มแม่บ้านทอเสื่อกก บ้านหนองเกาะ ตำบลตระเปี่ยงเตีย อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์.วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา. 5(1), 201-206.
วิศรุตา อรุณรัตน์. (2550). ต้นทุนและผลตอบแทนการทำเสื่อกระจูดของกลุ่มเสื่อกระจูดทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บช.ม. (การบัญชี) เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ อำเภอโกสุมพิสัย. (2563). ระบบฐานข้อมูล. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2563. จาก www.kosumphisai.mahasarakham.doae.go.th
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม. (2563). ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน บ้านแพง.สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2563 จาก .https://www.m- culture.go.th/mahasarakham/ewt_news.php?nid=2526 &filename=index.
Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.