การวิเคราะห์หาต้นทุนและผลตอบแทน จากการลงทุนปลูกอ้อยของชาวไร่อ้อย ในอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ปีการเพาะปลูก 2562/2563

Main Article Content

ณัชนันทน์ อัครเดชาพณิช
ทตมัล แสงสว่าง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ  (1) เพื่อศึกษาถึงลักษณะทั่วไปของการปลูกอ้อยที่มีผลต่อต้นทุน และผลตอบแทนจากการปลูกอ้อย  (2) เพื่อศึกษาต้นทุนการเพาะปลูกอ้อย ประเภทอ้อยปลูกใหม่  และวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการปลูกอ้อยในแต่ละกลุ่มเกษตรกร โดยแบ่งกลุ่มเกษตรกรออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1  มีเนื้อที่เพาะปลูกอ้อย   1 – 100  ไร่   กลุ่มที่ 2  มีเนื้อที่เพาะปลูกอ้อย  101 – 500  ไร่   กลุ่มที่ 3  มีเนื้อที่เพาะปลูกอ้อย 501 ไร่ขึ้นไป สุ่มตัวอย่างจำนวนกลุ่มละ 10  ตัวอย่าง โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการศึกษา และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกอ้อยรวมทั้งปี ผลการศึกษาพบว่าชาวไร่รายใหญ่จะมีต้นทุนคงที่ ร้อยละ 25.96 ต้นทุนผันแปร ร้อยละ 74.04 โดยจำแนกเป็น ค่าแรงงาน ร้อยละ 34.42 ค่าวัสดุและอุปกรณ์การเกษตร ร้อยละ 38.02 ค่าขนส่ง ร้อยละ 1.60 ชาวไร่รายกลางจะมีต้นทุนคงที่ ร้อยละ 18.79 ต้นทุนผันแปร   ร้อยละ 81.21  โดยจำแนกเป็นค่าแรงงาน ร้อยละ 40.12 ค่าวัสดุและอุปกรณ์การเกษตร ร้อยละ 38.86 ค่าขนส่ง ร้อยละ 2.23  ชาวไร่รายเล็กจะมีต้นทุนคงที่ ร้อยละ 32.41 ต้นทุนผันแปร ร้อยละ 67.59 โดยจำแนกเป็นค่าแรงงาน ร้อยละ 30.61 ค่าวัสดุและอุปกรณ์ การเกษตร ร้อยละ 33.55 ค่าขนส่ง ร้อยละ 3.43 และผลตอบแทนที่ได้รับจากการปลูกอ้อย ชาวไร่อ้อยรายใหญ่ รายกลาง และรายเล็ก มีผลตอบแทนเฉลี่ย 1,684.702,196 และ 2,080บาทต่อไร่ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนสาร อุทรักษ์ และรักชาติ ไชยกาล. (2555). การวิเคราะห์หาต้นทุนและผลตอบแทน จากการ ลงทุนปลูกอ้อยกรณีศึกษา บริษัท น้ำตาลเอราวัณ จำกัด จังหวัดหนองบัวลำภู. อุดรธานี: สาขาการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

วิมลรัตน์ หงอกภิลัย และสุภาภรณ์ พวงชมภู. (2558). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรผู้ใช้เครื่องจักรกลการเกษตรของการผลิตอ้อย ของชาวไร่รายย่อย อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น กรณีศึกษา:รถตัดอ้อย. ขอนแก่น: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2560). รายงานพื้นที่ปลูกอ้อยประจำปีการผลิต 2561/2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย.

อนุสรณ์ พรหมมาศ. (2558). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตอ้อยของเกษตรกร ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย).

อุกฤษฎ์พงษ์ วานิชอนันต์. (2552). การศึกษาต้นทุน และผลตอบแทนการผลิตอ้อยโรงงาน ตำบลดอน เจดีย์ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ปีการเพาะปลูก 2550/2551. (สารนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต เศรษฐศาสตร์การจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) .

อุทัยวรรณ แรงหาญ. (2556). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกอ้อยโรงงาน จังหวัด สุรินทร์. สุรินทร์: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.