CRP: รูปแบบการสอนสังคมศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพในยุคเศรษฐกิจฐานความรู้

Main Article Content

ศิริศุกร์ ศิริโชคชัยตระกูล

บทคัดย่อ

          รูปแบบการสอนที่ช่วยส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในยุคสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ คือ วิธีการสอนที่สามารถสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ได้ บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดของการสอนเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ (CRP Model) ในวิชาสังคมศึกษา บทความได้ยกตัวอย่าง รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้อันประกอบด้วย 1) การสอนแบบตกผลึก (Crystal-based Learning) 2) การสอนด้วยวิธีการวิจัย (Research-based Learning) และ 3) การสอนเชิงผลิตภาพ (Productivity-based Learning) จุดเด่นของรูปแบบ CRP Model คือ การใช้กระบวนการสอนที่ให้ผู้เรียนสามารถขยายความคิด ได้ลงมือปฏิบัติและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) การนำรูปแบบ CRP Model ไปใช้ในการสอนสังคมศึกษาเป็นการพัฒนานวัตกรรมการสอนที่น่าสนใจรูปแบบหนึ่งและเป็นการพัฒนาผู้เรียนซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ. (2546). การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_____. (2550). โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน CRP. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_____. (2554). CCPR กรอบคิดใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย. (2561). การเรียนรู้เชิงรุก: กิจกรรมท้าทายสำหรับผู้เรียนในยุคการศึกษา 4.0. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(3), 61-71.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน.