การมีส่วนร่วมขององค์กรภาครัฐกับภาคประชาชนในการพัฒนาการบริการสาธารณะด้านบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ เป็นการศึกษาการมีส่วนร่วมขององค์กรภาครัฐและภาคประชาชน ในการพัฒนาการบริการสาธารณะด้านบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด โดยการสร้างความร่วมมือ (Collaboration) ระหว่างองค์กรภาครัฐกับภาคประชาชนในด้านการบูรณาการจัดทำบริการสาธารณะด้านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด โดยถือเป็นเรื่องสำคัญและมีภารกิจหน้าที่ขององค์กรภาครัฐและภาคประชาชนที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำกิจกรรมและให้บริการสาธารณะ อีกทั้งยังถือว่าเป็นกิจกรรมที่อยู่ในอำนาจของภาครัฐหรือเป็นการบริการที่ภาครัฐมีอำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะ ตลอดจนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการดำเนินงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองปัญหาและความต้องการของประชาชน และยังเป็นการป้องกันปัญหาทางด้านยาเสพติดจากชายแดน จึงมีแนวคิดในการสร้างโครงการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในหมู่บ้าน ชุมชน เพื่อให้เกิดแนวทางในการป้องกันและเฝ้าระวังยาเสพติด โดยผ่านกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรภาครัฐกับภาคประชาชน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในชุมชน ได้แก่ 1) การการพัฒนาด้านงบประมาณ 2) การพัฒนาบุคลากรหรือเพิ่มบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ 3) การพัฒนาโดยมีการประเมินผลงานของการปฏิบัติหน้าที่ 4) การประชาสัมพันธ์ในส่วนของการปฏิบัติงาน 5) การพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การศึกษานี้ จึงเป็นการค้นหาแนวทางการมีส่วนร่วม และแนวทางความร่วมมือขององค์กรภาครัฐและภาคประชาชนในการพัฒนาการบริการสาธารณะด้านบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
Article Details
References
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.(2562). แผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามและบำบัดรักษายาเสพติด ปี 2562 กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
ณัฐพล ยิ่งกล้า.(2561).กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 .กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการผู้แทนราษฎร สำนักวิชาการ.
ทานตะวัน อินทร์จันทร์. (2546). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนย่อย ในเขตเทศบาลเมืองลำพูน. การค้นคว้าอิสระ คณะรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธีรภัทร โคตรบรรเทา และคณะ.(2563).การพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา กลุ่มที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1.บทความงานวิจัย. วารสารวิชาการและและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.ขอนแก่น.ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 (2020): กันยายน – ธันวาคม 2563.
พสกพร สุขุมมะสวัสดิ์. (2562).การนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในจังหวัดชลบุรี.ฉบับ 2 (2020) ปีที่ 9 พฤษภาคม-สิงหาคม 2563,วารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง.มหาวิทยาลัยบูรพา.
มนตรี บุนนาค. (2542). วิเคราะห์สาเหตุการกระทำผิดซ้ำในคดีเสพยาบ้า : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ต้องขังในทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศุกร ชินะเกตุ.(2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดราชบุรี วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณทิต,มหาวิทยาลัยศิลปากร .
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2533). นโยบายสาธารณะ. : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ .(2549).การเมืองการปกครองไทย.กรุงเทพฯ : คณะรัฐประศาสนสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เสน่ห์ จุ้ยโต. (2552). หน่วยที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ ประมวลสาระชุดวิชานโยบายสาธารณะและการบริหารโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุพจน์ สุโรจน์. (2560). บทบาทของพนักงานคุมประพฤติในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง.กรุงเทพ.
อาภาศิริ สุวรรณานนท์ .(2558).การศึกษารูปแบบการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด. ฉบับปีที่ 11 ฉบับที 2 (2558): พฤษภาคม - สิงหาคม 2558 วารสารบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
Anderson, J. E. (1994). Public policymaking: An introduction. (2 nd ed.).
Craig, G., Burchardt, T. and Gordon, D. (1998). Social Justice and Public Policy Seeking Fairness in Diverse. Societies.Bristol: PolicyPress.
Dye, T. R. (1978). Understanding public policy. (3rd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Easton, D. (1953). The political system. New York: Knopt.
Thamrong thanyawong, S. (2001). Public Policy: Concepts Analysis and Processes. Bangkok: National Institute of Development Administration.
Preston,L.E.and Post, J.E. (2013). Private Management and Public Policy: The Principle of Public Responsibility. New Jersey: Stanford University Press.
United Nation . (1981). United Nation Department of Internation Economic and Social Affair. Popular Participation as a Strategy for Promoting Community Level Action and Nation Development.( Report of The Meeting for The Adhoc Group of Expert.) New York: United Nation