แนวทางการบริหารงานนโยบายขององค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
สำหรับประเทศไทยกำลังเปลี่ยนผ่านจากสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ในเวลาที่สั้นกว่าประเทศอื่น ๆ โดยปรากฎจากข้อมูลประชากรของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2556 ที่ว่าประชากรในประเทศไทย มีจำนวน 64.6 ล้านคน และเป็นผู้สูงอายุมากถึง 9.6 ล้านคน คาดว่าในปี พ.ศ. 2573 จะมีจำนวนผู้สูงอายุ 17.6 ล้านคน (ร้อยละ 26.3) และปี 2583 จะมีจำนวนถึง 20.5 ล้านคน (ร้อยละ 32.1) ซึ่งมากกว่า 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุ , 2551) การเป็นสังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในด้านภาคแรงงานใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานมีแนวโน้มลดลงจนอาจจะนำมาซึ่งปัญหาการขาดแคลนแรงงานและกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอนาคต ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานที่ดูแลประชาชนในท้องถิ่น รวมถึงมีการดำเนินงานในระดับรองจากระดับภูมิภาคหรือระดับส่วนกลาง ซึ่งเป็นไปตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะงานที่ได้มีการถ่ายโอนจากหน่วยราชการส่วนภูมิภาค เช่น งานบริการการศึกษา งานบริการสาธารณสุข และงานทะเบียนต่าง ๆ เป็นต้น (ภาคิน เจริญนนทสิทธิ์,2562) ซึ่งจากการสังเคราะห์เอกสาร พบว่า แนวทางการบริหารงานนโยบายขององค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งของภาครัฐและภาคประชาชน 2) การปฏิบัติตามกรอบของนโยบายที่กำหนดไว้กฎหมาย 3) องค์ความรู้ของผู้นำไปบริหารนโยบายและการปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ 4) การบูรณาการในทุก ๆ ด้าน เพื่อบรรลุผลสำเร็จที่แท้จริง ดังนั้น บทความวิชาการนี้ จึงเป็นการศึกษาการบริหารงานนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน เพื่อรองรับสังคมสูงอายุ ตลอดจนแนวทางการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดีและเหมาะสม เพื่อพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุในประเทศไทย
Article Details
References
เกรียงศักดิ์ ซื่อเลื่อม. (2552). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการดูแลและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542, 2549.
ภาคิน เจริญนนทสิทธิ์ (2562).การบริหารนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ . หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติรัฐกิจและการบริหาร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2551). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: ทีคิวพี.
_______. (2560). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: ทีคิวพี.
_______. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2549). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
_______. (2560). บริการท้องถิ่นเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
สมบัติ ธำรงธัญญวงศ์. (2549). นโยบายสาธารณะ:แนวความคิด การวิเคราะห์ และกระบวนการ. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ:เสมาธรรม.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือการบูรณาการความร่วมมือ 4 กระทรวงการพัฒนาคนตลอดชีวิตในช่วงวัยผู้สูงอายุ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
Easton, D. (1965). A Systems Analysis of Political Life. New York: Wiley. .