การพิจารณาก่อนเป็นแฟรนไชส์ซี
Main Article Content
บทคัดย่อ
สภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี และสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจาก การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่หดตัวทำให้ทุกธุรกิจต้องปรับตัวและหาแนวทางในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้อยู่รอด สร้างความได้เปรียบคู่แข่งขัน และเจริญเติบโตได้อย่างมั่นคงในระยะยาว ธุรกิจแฟรนไชส์จึงเป็นทางเลือกในการสร้างอาชีพอิสระให้กับผู้ที่ต้องการมีอาชีพเป็นของตนเองได้อย่างรวดเร็ว การซื้อแฟรนไชส์จึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ขาดทักษะการเป็นผู้ประกอบการแต่มีความตั้งใจจะเป็นผู้ประกอบการ ขาดความรู้ในการทำธุรกิจ และต้องการประสบความสำเร็จในเวลารวดเร็ว จุดเด่นของธุรกิจแฟรนไชส์คือ มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง ตรายี่ห้อเป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีบริการช่วยเหลือจาก แฟรนไชส์ซอร์ ประหยัดเงินทุนด้านต้นทุนวัตถุดิบและการโฆษณา แต่ก็มีข้อที่พึงระวังคือมักจะเกิดความขัดแย้งระหว่างแฟรนไชส์ซีกับแฟรนไชส์ซอร์ และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง วิธีการที่ควรพิจารณาก่อนซื้อแฟรน-ไชส์คือการประเมินปัจจัยต่างๆ ก่อนการตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ ได้แก่ คุณสมบัติส่วนบุคคลของผู้ที่ต้องการเป็นแฟรนไชส์ซี เงินลงทุน ความชื่นชอบในธุรกิจ การเลือกแฟรนไชส์ที่มีระบบ และการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากแฟรนไชส์ซอร์
Article Details
References
กรุงศรีกูรูเอสเอ็มอี. (2564). ร้านอาหาร-ธุรกิจทำเงินที่มีอนาคต. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2563, จาก https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/restaurant-make-money-future
เจน จันทรสุภาเสน, อำพล ชะโยมชัย, ณัฏฐวัฒน์ แซงภูเขียว และ แก้วตา ผิวพรรณ. (2563). อิทธิพลของพฤติกรรมผู้ประกอบการ ความสามารถในการปรับตัว และความสามารถทางนวัตกรรมที่มีผลต่อการดำเนินงานทางธุรกิจ: ข้อมูลเชิงประจักษ์จากโครงการร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(1), 5-18.
ไทยเอสเอ็มอีเซ็นเตอร์. 2563. รวม 32 งานออกบูธSMEs & Franchise 2563.สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2563 จาก http://www.thaismescenter.com/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1-32-%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%98-smes-franchise-2563/.
ผุสดี รุมาคม. (2538). การบริหารธุรกิจขนาดย่อม. กรุงเทพมหานคร: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
ศิริพัฒน์ ศรีจันทร์. (2560). รูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของผู้ซื้อสิทธิแฟรนไชส์ในธุรกิจแฟรนไชส์ไทยประเภทอาหาร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 6(1), 1-16.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวมปี 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5492&filename=socialoutlook_report
Bisio, R. and Kohler. M. (2017). The Educated Franchisee (3rded). Minnesota: Tasora.
Frederick, H., O’Connor, A., and Kuratko, D.F. (2016). Entrepreneurship: Theory/Process/Practice (4thed). China: Translation & Printing Services.
Gartner, W.B. (1990). What are we talking about when we talk about entrepreneurship?.Journal of Business Venturing, 5, 15-28.
Grossman, R. and Katz Esq, M.J. (2017). Franchise Bible: How to Buy a Franchise or Franchise Your Own Business. (8thed.). California: Entrepreneur Press.
Longenecker, J.G., Moore, C.W., and Petty, J.W. (1994). Small Business Management: and Entrepreneurial Emphasis (9thed.). Ohio: South- Western Publishing.
Seid, M.H., and Mazero, J. (2017). Franchise Management. New Jersey: John Wiley & Sons.
Shapero, A. (1975). Entrepreneurship and economic development. Milwaukee: Project ISEED, Ltd.