แนวทางการออกแบบกระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูล กลุ่มนาแปลงใหญ่ ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

เจนจีรา อักษรพิมพ์
ศุภชานันท์ วนภู

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทและการใช้ฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการของกลุ่มนาแปลงใหญ่ และเพื่อสร้างแนวทางการออกแบบกระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูล กลุ่มนาแปลงใหญ่ ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา งานวิจัยนี้ใช้แนวคิดของกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มกรรมการและสมาชิกเกษตรกรนาแปลงใหญ่ จำนวน 30 คน 2) กลุ่มบุคลากรหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 คน และ 3) นักวิจัยในกลุ่มโครงการวิจัยย่อย จำนวน 7 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 45 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ การสำรวจภาคสนาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้รวบรวมมาเพื่อออกแบบกระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูล


          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มฯ ได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินโครงการส่งเสริมการเกษตรนาแปลงใหญ่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน  ดำเนินการผลิตข้าวหอมดอกมะลิ 105 เพื่อบริโภค จำหน่ายเป็นข้าวเปลือก และแปรรูป  โดยมีระบบฐานข้อมูลจากหน่วยงานส่วนกลางของภาครัฐ ได้แก่ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรกลาง ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลและดึงข้อมูลได้เอง มีเพียงเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอและผู้ช่วยผู้จัดการแปลงที่สามารถดึงข้อมูลต่าง ๆ จากระบบฐานข้อมูลมาใช้งาน ทำให้มีความยุ่งยากในการใช้ข้อมูลและจัดทำรายงานต่าง ๆ อย่างไรก็ตามเกษตรกรมีความตระหนักและเห็นถึงความจำเป็นของข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการบริหารจัดการกลุ่มในอนาคต จากการสำรวจความต้องการ พบว่า มีความต้องการใช้ฐานข้อมูลการจัดการน้ำมากที่สุด และรองลงมาคือฐานข้อมูลการจัดการต้นทุน เพื่อนำมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและการตัดสินใจในการปลูกข้าว และได้ข้อสรุปของแนวทางการออกแบบกระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลุ่มนาแปลงใหญ่ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สร้างความเข้าใจและความตระหนักถึงประโยชน์การใช้ระบบฐานข้อมูล 2) ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและใช้ระบบฐานข้อมูล 3) สิ่งสนับสนุนและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่รองรับการใช้งาน 4) การออกระบบฐานข้อมูลให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน และ 5) การสร้างความเชื่อมั่นต่อการใช้เทคโนโลยี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2562). การส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2562. จาก https://www.opsmoac.go.th/inspector-dwl-files-402891791956

กลุ่มพัฒนาเกษตรกรและเครือข่ายผู้นำ สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี. (2562). คู่มือการดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อนเกษตรกรรม. สืบคืนเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2562. จาก https://www.alro.go.th/tech_trans/ewt_dl_link.php?nid=609

จีรศักดิ์ พุ่มเจริญ กมลวรรณ แตงสุข และลักษนันท์ พลอยวัฒนาวงศ์(2562) ทำการศึกษาเรื่องระบบสนับสนุนการตัดสินใจด้านการวางแผนการเกษตร. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(1), 112 – 123.

ณวรา จันทร์ศิริ. (2563). การพัฒนาระบบคลังความรู้ด้านการเกษตร. วารสารวิจัยและพัฒนาไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 15(1), 87-97.

พิกุล พงษ์กลาง. (2559). การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารต้นทุนการผลิตของการปลูกข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าว เมล็ดพันธ์ข้าวตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่, 8(3), 102-117.

______. (2559). แนวทางการลดต้นทุนของการปลูกข้าว. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 10(13), 17-26.

พิชญาภัค จันทร์นิยมาธรณ์ และ วนารัตน์ กรอิสรานุกูล. (2560). การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตข้าวผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์(e-Learning) ของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(3), 85 – 97.

ภิรมย์ อ่อนเส็ง, อรสา เตติวัฒน์, วิมาลา ชโยดม, ธนัช. กนกเทศ, วิชาญ อมรากุล, รัชนีย์ มุขแจ้งและคณะ.(2554). การพัฒนาระบบ e-Village Profile เพื่อพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. Journal of Community Development Research2011, 4(2), 98 – 112.

วิริยะ คล้ายแดง. (2561). เกษตรแปลงใหญ่. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2561. จาก https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2561/hi2561-064.pdf

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2547). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

อรวดี รื่นรมย์ และ บรรพต วิรุณราช. 2562. ผลการใช้รูปแบบการจัดการสารสนเทศกางเกษตรสู่เกษตรกร กรณีศึกษาเกษตรกรที่เพาะปลูกข้าว. วารสารวิทยาบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 30(1), 118 – 128.

อาคม สงเคราะห์ และ แสงทอง บุญยิ่ง. 2558. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทางการเกษตรในชุมชนทับน้ำ อำเภอบางประหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว). กรุงเทพฯ.

Krutmung Sanserm. S., et al. (2015). Learning Behavioral Learning Program Use of Technology Information is Appropriate for Thai Farmers. Nonthaburi. Sukhothai Thammathirat Open University. [In Thai]