ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน และใช้วิธีกำหนดขนาดตัวอย่างโดยการคำนวณจากสูตรของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane , 1973) วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างเป็น จำนวน 269 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC (Index of Item Objective Congruence) เท่ากับ 0.67 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) , ร้อยละ (Percentage) , ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการศึกษาพบว่า
1 ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น เรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) การพัฒนาตนเอง2) การทำงานเป็นทีม 3) การบริการที่ดี 4) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ 5) การมีวิสัยทัศน์ 6) การพัฒนาศักยภาพบุคคล 7) การสื่อสารและการจูงใจ 8) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์
2. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่นเมื่อพิจารณาจากข้อเสนอแนะที่มีค่าความถี่สูงสุดลำดับแรกในแต่ละด้านเป็นดังนี้ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ คือมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานตามหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านการบริการที่ดีคือ มีการปรับปรุงระบบการบริการให้มีประสิทธิภาพเพื่อความพึงพอใจของผู้รับบริการ ด้านการพัฒนาตนเองคือ มีความสนใจในการแสวงหาความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงาน ด้านการทำงานเป็นทีมคือ ให้ความร่วมมือช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อนร่วมงาน ด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์คือ มีการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของงานอย่างรอบด้าน ด้านการสื่อสารและการจูงใจคือ มีความสามารถในการจูงใจโน้มน้าวให้ผู้อื่นเห็นด้วยยอมรับและคล้อยตามเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของการดำเนินงาน ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคคลคือ มีการส่งเสริมสนับสนุนไห้โอกาสเพื่อนร่วมงานได้พัฒนาศักยภาพของแต่ละคน ด้าน การมีวิสัยทัศน์คือ มีความสามารถในการกำหนดเป้าหมาย ทิศทางแนวทางการพัฒนาและดำเนินงานขององค์กรโดยการใช้กระบวนมีส่วนร่วม
Article Details
References
Taro Yamane , (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. New York. Harper and Row Publications.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560 ). ครุศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพครู. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถานศึกษาไม่ผ่านการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา สมศ.รอบ2โวยคุณภาพต่ำ. คมชัดลึก. 2 มีนาคม 2557.
เบญจพร วาทีกานท์. (2559). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสังกัด สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
พัทธนันท์ โมครัตน์. (2558). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานวิชาชีพทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วีรวัฒน์ มานนท์. (2556). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต3. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.