การกลั่นแกล้งกันในพื้นที่ไซเบอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: ความชุก วิธีการจัดการปัญหา และพฤติกรรมเสี่ยง

Main Article Content

วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุก วิธีการจัดการกับปัญหาการกลั่นแกล้งกันในพื้นที่ไซเบอร์ และพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการถูกกลั่นแกล้งของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตเทศบาลนครขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการกลั่นแกล้งกันในพื้นที่ไซเบอร์ของนักเรียนที่ประยุกต์จาก Cyber-Aggression Perpetration and Victimization Scale ร่วมกับการสนทนากลุ่ม กลุ่มละ 13-15 คน จำนวน 24 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 350 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สมการการทดถอยเชิงพหุคูณเพื่อศึกษาพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงและส่งผลเชิงบวกต่อการถูกกลั่นแกล้งในพื้นที่ไซเบอร์


ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนที่ถูกกลั่นแกล้งในพื้นที่ไซเบอร์ คิดเป็นร้อยละ 54.57 นักเรียนหญิงมีโอกาสถูกกลั่นแกล้งมากกว่านักเรียนชาย โดยรูปแบบที่มีการกลั่นแกล้งกันมากที่สุด คือ การนินทาผ่านสื่อออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 60.73  สาเหตุในการกลั่นแกล้งกัน ร้อยละ 42.86 มาจากการมีข้อพิพาทกันมาก่อนในพื้นที่จริง วิธีการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นนักเรียนใช้วิธีการปรึกษาเพื่อนสนิท คิดเป็นร้อยละ 80 และพฤติกรรมของนักเรียนที่เสี่ยงต่อการถูกกลั่นแกล้ง คือ การรับเพื่อนในสื่อสังคมออนไลน์ที่ไม่รู้จักกันมาก่อน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมสุขภาพจิต. (2563). บูลลี่ไม่ใช่เรื่องเด็ก ๆ ความรุนแรงที่รอวันปะทุ. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2563, จากเว็บไซต์: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30150

กฤติศักดิ์ อนุโรจน์และณัทธร พิทยรัตน์เสถียร. (2562). การศึกษาความเที่ยงและความตรงของ แบบสอบถาม Cyber-Aggression Perpetration and Victimization Scale ฉบับภาษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 64(1), 45-60.

เกษตรชัย และหีม. (2557). พฤติกรรมการรังแกกันของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสงขลา. วารสารศรีนครินวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(7), 14-29.

จิราภา พึ่งบางกรวย. (2563). การรับรู้ความเสี่ยงและการแก้ปัญหาการถูกกลั่นแกล้งบนพื้นที่ไซเบอร์ของกำลังพลในกองทัพบก. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระ จุลจอมเกล้า, 7, 21-36.

ฉันทนา ปาปัดถาและนภาภร ภู่เพ็ชร์. (2562). การสังเคราะห์สาเหตุ ผลกระทบ การป้องกันและการ แก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ในกลุ่มวัยรุ่นไทย. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 11 ประจำปี 2562 “วิถีราชมงคลขับเคลื่อนนวัตกรรม เพื่อสร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคม”, 24 กรกฎาคม, 2562, เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

ชาญวิทย์ พรพภดล. (2561). เปิดวิจัย Cyberbullying เยาวชนไทยกับความเสี่ยงยุค 4.0. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563, จากเว็บไซต์: https://www.prachachat.net/ict/news-146408

ธันยากร ตุดเกื้อและ มาลี สบายยิ่ง. (2560). รูปแบบ ผลกระทบ และวิธีจัดการเมื่อถูกรังแกบนโลกไซเบอร์ของนักศึกษาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 9(2), 221-234.

นัฐิยา พัวพงศกร. (2563). เผยสถิติเด็กไทยถูก “ไซเบอร์บูลลี่” หนัก! ค่าเฉลี่ยติดอันดับโลก. สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 มิถุนายน 2563, จากเว็บไซต์: https://teroasia.com/news/194261?ref=news

ฤทัยชนนี สิทธิชัย และธันยากร ตุดเกื้อ. (2560). พฤติกรรมการรังแกบนโลกไซเบอร์ของเยาวชนในสามจังหวัดชายแดนใต้. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(1), 86-99.

วรพงษ์ วิไลและเสริมศิริ นิลดำ. (2561). พฤติกรรมการรังแกกันผ่านโลกไซเบอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงราย: กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 1(2), 1-22.

วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุลและสุรีลักษณ์ รักษาเคน. (2561). เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ภายใต้การบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(2), 26-41.

สรานนท์ อินทนนท์ และพลินี เสริมสินสิริ. (2561). การศึกษาวิธีการป้องกันการกลั่นแกล้งบนโลกไซ เบอร์ของวัยรุ่น. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2, 8 มิถุนายน 2561. กรุงเทพมหานครฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สุวิไลพร ไฉไลสถาพร อัจศรา ประเสริฐสิน และแวตา เตชาทวีวรรณ. (2560). ประสบการณ์และแนว ทางการเผชิญปัญหาของเด็กและเยาวชนไทยที่ตกเป็นเหยื่อของการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 7(2), 215-234.

Datareportal. (2020). Digital 2020: Thailand. Retrieved August 14, 2020, from: https://datareportal.com/reports/digital-2020-thailand.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B.J., and Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Hinduja, & Justin W. Patchin (2008). Cyberbullying Research Summary Personal Information of adolescents on the Internet. Cyberbullying Research Center.

Kochenderfer, B. L. & Pelletier, E. (2008). Teachers’ views and beliefs about bullying: Influences on classroom management strategies and students’ coping with peer victimization. Journal of School Psychology, 46(4), 431-453.

König, A., Gollwitzer, M. & Steffgen, G. (2010). Cyberbullying as an Act of Revenge? Australian Journal of Guidance and Counselling, 20(2), 210–224.

Langos, C. (2012). Cyberbullying: The challenge to define. Cyberpsychology, Behavior, and Social Networking, 15(6), 285-289.

Mora – Merchan, J. A. (2006). Coping strategies: mediators of long-term effects in victims of bullying? Annuary of clinical and Health Psychology, 2, 15-25.

Nakamoto, J., & Schwartz, D. (2010). Is peer victimization associated with academic achievement? A meta-analytic review. Social Development, 19(2), 221-242.

Notar, C. E., Padgett, S., & Roden, J. (2013). Cyberbullying: Resources for intervention and prevention. Universal Journal of Educational Research, 1(3), 133-145.

Suler, J. (2005). Psychology of Cyber space. Retrieved May 13, 2020, from http://users.rider.ed/~suler/psycyber/psycyber.html.

Swearer, S. M., & Hymel, S. (2015). Understanding the psychology of bullying: Moving toward a social-ecological diathesis–stress model. American Psychologist, 70(4), 344-353.

Vandebosch H. & Cleemput V. K. (2008). Defining cyberbullying: A qualitative research into the perceptions of youngsters. Cyberpsychology & Behavior, 11(4), 499-503.

Zhao, A. L., S. Hammer-Lloyd & M. M. H. G. Philippa Ward. (2008). Perceived risk and Chinese consumers’ internet banking services adoption. International Journal of Bank Marketing, 26(7), 505-525.