แนวทางการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครพนม

Main Article Content

วชิรวิชญ์ ผาดำ
วิเชียร รู้ยืนยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และสร้างแนวทางการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครพนม  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้บริหารสถานประกอบการ  หัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี  ครูฝึกจากสถานประกอบการ  และครูที่ปฏิบัติการสอน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยสูตรของ Taro Yamane (1973) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 129 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครพนม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ดัชนีชี้วัดความต้องการจำเป็น  PNI Modified


ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบัน การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครพนม มี 4 แนวทาง คือ (1) แนวทางการจัดการเรียนการสอน (2) แนวทางความร่วมกับสถานประกอบการ (3) แนวทางการนิเทศการศึกษา (4) แนวทางการวัดผลประเมินผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

เฉลิมศักดิ์ นามเชียงใต้. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ).

ชายชาญ ปิงเมือง. (2545). รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สาขาวิชาช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ภิญโญ ขำประดิษฐ์. (2545). ปัญหาสาเหตุและแนวทางการบริหารระบบทวิภาคี หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพของวิทยาลัยเทคนิคในภาคตะวันออก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา).

ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี. (2557). แนวทางปฏิบัติการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี.

สุภาพ ผลาพิบูลย์. (2546). การมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานประกอบการในจังหวัดปทุมธานีกับวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช).

อุดมศักดิ์ มีสุข, สมภพ สุวรรณรัฐ และ วรัทยา ธรรมกิตติภพ. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สาขาช่างอุตสาหกรรมในสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาอาชีวศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

Yamane, Taro. (1973). Statistics. An introductory analysis ( 3rd ed). New York : Harper And Row Publication.