การพัฒนาสื่อแอปพลิเคชันการเรียนรู้เสริมทักษะคำศัพท์ 3 ภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย บนสมาร์ทโฟน

Main Article Content

พิชัย ระเวงวัน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อแอปพลิเคชันการเรียนรู้เสริมทักษะคำศัพท์ 3 ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยบนสมาร์ทโฟน 2) ประเมินประสิทธิภาพของสื่อแอปพลิเคชันการเรียนรู้เสริมทักษะคำศัพท์ 3 ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยบนสมาร์ทโฟน 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานสื่อแอปพลิเคชันการเรียนรู้เสริมทักษะคำศัพท์ 3 ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยบนสมาร์ทโฟน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ประเมินประสิทธิภาพจำนวน 4 คน และกลุ่มที่ประเมินความพึงพอใจ จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยสื่อการเรียนรู้เสริมทักษะคำศัพท์ 3 ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยบนสมาร์ทโฟน แบบประเมินประสิทธิภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า (1) สื่อแอปพลิเคชันการเรียนรู้เสริมทักษะคำศัพท์ 3 ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย สามารถนำไปใช้งานกับเด็กปฐมวัยได้จริง (2) ประสิทธิภาพของสื่อแอปพลิเคชันการเรียนรู้เสริมทักษะคำศัพท์ 3 ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยบนสมาร์ทโฟน ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (gif.latex?\bar{X}  = 4.49) (3) การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ ผลประเมินภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( gif.latex?\bar{X} = 4.31)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ ภักดีวัฒนะกุล, และพนิดา พานิชกุล. (2551). การวิเคราะห์และการออกแบบระบบ. กรุงเทพ: เคทีพี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แนวทางการเปิดห้องเรียนพิเศษในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2559. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาดม และนพเก้า โมลาขาว. (2560). การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย. สืบค้นจาก https://eaed3210noppakaw.blogspot.com/p/1-16-2560-11.html

ณรงค์ กาณจนะ และอูมัยกือซง หะระตี. (2558).ทักษะและเทคนิคการจัดการเรียนรู้. สืบค้นจาก http://umiakesung.blogspot.com/p/blog-page_6355.html.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.

ปิยธิดา ศรีพล. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อใช้ในงานธุรกิจสั่งอาหารเดลิเวอร์รี่ในจังหวัดขอนแก่น. Journal of Buddhist Education and Researc, 7(1).

ปิยธิดา ศรีพล.(2563). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นแนะนำสถานที่ทำบุญ. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7 (น.828-838). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

พรทิพย์ วงศ์สินอุดม. (2558). การพัฒนาแอปพลิเคชันบทเรียนบนคอมพิวเตอร์พกพา ร่วมกับการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดเพชรบุรี.(วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ รายวิชาการวิจัยทางการศึกษาบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.วารสารกลุ่มมนุษยศาสตร์- สังคมศาสตร์, 3(1), 38-49.

ภาณุวัฒน์ วรพิทย์เบญจา และคณะ. (2558). การพัฒนำแอปพลิเคชันกำรจัดกำรเรียนการสอนในห้องเรียนเสมือนจริงบนอุปกรณ์เคลื่อนที่.วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง,8(2),58-67.

รุ้งนภาพร ภูชาดา และ สวียา สุรมณ. (2558). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้บนแท็บเล็ตเรื่ององค์ประกอบของระบบสารสนเทศสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีทิ่ 4. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ,1(2), 255-267.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. สืบค้นจาก http://backoffice.onec.go.th/uploaded/Outstand/2017-EdPlan60-79.pdf

สุภาณี ศรีอุทธาและสวียา สุรมณี. (2558). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนแท็บเล็ต เรื่อง ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กมัธยมศึกษาปีที่ 4.การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมครั้งที่ 1 (น.70-77). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศิรินยา ผ่องลุนหิต และอภิชาติ เหล็กดี. (2560). แอพพลิเคชั่นเสริมทักษะเด็กปฐมวัย บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. The 3 National Conference on Technology and Innovation Management NCTIM 2017 (น.28-41). มหาสารคาม :มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศรัณยู หมื่นเดช. (2561). เทคโนโลยีกับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่21. สืบค้นจาก. https://hooahz.wordpress.com/

ศศิพันธุ์ เปี๊ยนเปี่ยมสิน, นงเยาว์ นุชนารถ,กรณิศ ทองสอาด,ชนิสรา ใจชัยภูมิ และชนม์ธิดา ยาแก้ว (2561). เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา หลักการศึกษาและปรัชญาการศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

อภิณพร ภูจีระ, ณัฐพงศ์ พลสยม (2560).การพัฒนาแอพพลิเคชั่นแอพพลิเคชั่นค าศัพท์ภาษไทยพื้นฐานส าหรับเด็กชั้นอนุบาล 1 บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์.วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 8(3), 7-14.

อรทัย สุทธิจักษ์. (2561).เกมคําศัพท์ภาษาอังกฤษบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบปฏบิัติการแอนดรอยด์สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับกลาง.วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 9(1), 406-416.

Dora, I., Rita, W. (2016). JURNAL INFORMATIKA GLOBAL VOLUME 6 No.1 DESEMBER 2015, from http://ejournal.uigm.ac.id/index.php/IG/article/view/4/3

Salman, A. and Antonius, C. (2017). Interactive educational game, an android mobile app for children learning alphabets, Library Hi Tech News, Vol. 34 No. 5, pp. 20-22.