รูปแบบการพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนการมีส่วนร่วมของชุมชนและแรงสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความร่วมมือของชุมชนและแรงสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง 2) สร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนและแรงสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ใช้วิธีผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบหลายขั้นตอนจากผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 70 คน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพสำหรับการสนทนากลุ่มมุ่งเน้นการพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ 20 คน เครื่องมือประกอบด้วยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง และการจัดกลุ่มสนทนา การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา 1) สภาพการณ์ความร่วมมือของชุมชนและแรงสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 4 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า (1) ด้านร่างกาย ได้แก่ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การปรึกษาสุขภาพ (2) ด้านจิตใจ ได้แก่ การหาวิธีแก้ไขปัญหา การปล่อยวาง การผ่อนคลายความเครียด (3) ด้านสังคม ได้แก่ การร่วมกิจกรรมของครอบครัว และเพื่อนบ้าน (4) ด้านจิตวิญญาณ ได้แก่ การเข้าใจสัจธรรมชีวิตและนำมาประยุกต์ใช้ 2) รูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนและแรงสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า (1) ด้านร่างกาย ได้แก่ อธิบายความรู้โรคความดันโลหิตสูง บุคคลต้นแบบ การออกกำลังกาย และเมนูชูสุขภาพ (2) ด้านจิตใจ ได้แก่ การบริหารจิตสวดมนต์ การฝึกสมาธิ การจัดการกับอารมณ์และความเครียด รำวงสานสัมพันธ์และคาราโอเกะร่วมใจ (3) ด้านสังคม ได้แก่ กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ตระหนักเรียนรู้สู่สุขภาวะ และสายใยผูกพันครอบครัว (4) ด้านจิตวิญญาณ ได้แก่ ธรรมะสอนใจ
Article Details
References
กฤตวรรณ ณพลพงศกร. (2562). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงในเขตความรับผิดชอบ รพ.สต.วังชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชุตินาฎ วงศ์สุบรรณ. (2560). งานสัมมนา “จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาร่างแผนประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว 20 ปี. สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2561. จาก https://www.thairath.co.th/content/956700
ดุษฎี ตันเรืองศรี. (2557). การสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการดูแลตนเองกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุชมรมผู้สูงอายุวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทิพย์กมล อิสลาม. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
นนทรีย์ วงษ์วิจารณ์. (2557). ทัศนคติต่อการเป็นผู้สูงอายุ การดูแลตนเอง ทักษะทางสังคม และความผาสุกในชีวิตของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บรรลุ ศิริพานิช. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. นครปฐม: พร็นเทอรี่.
ปาจรีย์ ผลประเสริฐ. (2561). บริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุ อย่างไรให้ สำเร็จ?. วารสารชุมชนวิจัย, 12(2), 35.
พระปริยัติกิจวิธาน (สมวงษ์ สีลภูสิโต) และสงวน หล้าโพนทัน. (2562). สุขภาวะผู้สูงอายุแบบองค์รวมเชิงพุทธบูรณาการ. Journal of Buddhist Education and Research, 5(2), 16.
มลฤดี โพธิ์พิจารย์. (2554). เอกสารประกอบการสอนรหัสวิชา NUR 2228 รายวิชา การพยาบาลผู้สูงอายุ. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราขภัฎสวนสุนันทา.
มุรธา วิวัฒน์พาณิชย์. (2557). การเห็นคุณค่าในตนเอง ความเชื่ออำนาจควบคุมกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ลัดดา ดำริการเลิศ. (2560). ผู้สูงอายุไทย อันดับ 2 ในอาเซียน. คมชัดลึก, Line Official. [ออนไลน์]. สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2561. จาก http://www.komchadluek.net/news/edu-health/270595
สำนักสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2562. สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2561. จาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/07/127178/
เอื้อนจิต พานทองวิริยะกุล และสัญญา เคณาภูมิ. (2561). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาสุขภาวะของประชาชนให้ยั่งยืน. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 8(1). 113.
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Effective behavior in organizations. New York: Richard D. Irwin.
Dulaehealth. (2559). การดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว. Retrieved May 4, 2020. from http://dulaehealth.blogspot.com/2016/06/holistic-health-holisticmedicine.html
Global and Thai Context. (2015). Global status report on road safety 2015. Retrieved October 5, 2018. from https://books.google.co.th/books?hl=th&lr=&id=wV40DgAAQBAJ&oi=fnd&pg=PP1&dq=Global+and+Thai+Context,+2015&ots=DJUBvTaSvi&sig=8cAwW0elmMPMDqsgNwrl2jFJn8U&redir_esc=y#v=onepage&q&f=false
HDC-Report. (2563). HDC กระทรวงสาธารณสุข. Retrieved from https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php
House, J. S., Umberson, D., & Landis, K. R. (1988). Structures and Processes of Social Support. Annual Review of Sociology, 241(14), 293-318.