การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่จังหวัด ในความรับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11: พหุกรณีศึกษา

Main Article Content

เมรินทกาล พัฒนทรัพย์พิศาล
เพลินพิศ ธรรมรัตน์
สุรัตน์ ดวงชาทม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ของลักษณะการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา ที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้วิจัยได้เลือกพื้นที่ที่ศึกษาแบบเจาะจง 3 ประเภทซึ่งเป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในศึกษาธิการภาค 11 ประกอบด้วย 3 โรงเรียนที่บริหารสถานศึกษาที่เป็นเลิศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้วิจัยศึกษา และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตและจดบันทึก การวิเคราะห์เอกสาร และการสนทนากลุ่มย่อย โดยการเก็บข้อมูลจากบุคลากรหลักในสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง ใช้การตรวจสอบ ข้อมูลแบบสามเส้า เพื่อเป็นการยืนยันความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของข้อมูลจากแหล่งและชนิดของข้อมูล รวมทั้งความถูกต้องและความเชื่อถือได้


          ผลการวิจัยพบว่า


                   การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงมี 5 ด้าน 17 องค์ประกอบย่อย ได้แก่


  1. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) งาน นโยบาย 2) งานวิชาการ 3) งานงบประมาณ และ 4) งานบริหารทั่วไป โดยสถานศึกษาให้ความสำคัญกับการประสานสัมพันธ์กับชุมชน เสริมสร้าง ให้ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นสร้างความพอเพียงของผู้เรียน

  2. ด้านการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) หน่วยการ เรียนรู้ 2) การจัดการเรียนรู้  3) สื่อและแหล่งเรียนรู้ โดยจัดทำสื่อและแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาและสนับสนุนการเรียนรู้และ 4) การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องมีวิธีการหลากหลายกับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  3. ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) กิจกรรมแนะแนว 2) กิจกรรมนักเรียน สถานศึกษาจัดโครงการ แผนงานที่ส่งเสริมพัฒนานักเรียนได้มีส่วนร่วมและ 3) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสาและมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมในชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  4. ด้านการพัฒนาบุคลากร ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อยดังนี้ 1) การส่งเสริมพัฒนา บุคลากร 2) การติดตามและการขยายผลโดยผ่านกระบวนการติดตามผลการดำเนินงานบุคลากรทุกคนได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง

  5. ด้านผลลัพธ์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) สถานศึกษาจัดสถานศึกษา โดยเน้นที่กระบวนการทำงาน โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2) ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจเป็นแบบอย่างนำมาใช้ทั้งในชีวิตประจำวันและในการทำงาน 3) บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจและนำไปปฏิบัติเป็นแบบอย่างแก่ทุกคนและ 4) ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพและนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เนาวรัตน์ นาคพงษ์. (2555) การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดกำแพงเพชรโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.(วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร).

วิไลวัจส์ กฤษณะภูติ.(2561) ศาสตร์พระราชาพัฒนาสังคมไทยสู่สังคมโลกขอนแก่น. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

สมบัติ ปัญญาคง,ณรงค์ พิมสาร และกาญจนา บุญภักดิ์ (2562). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 1.(วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต ,มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ).

สาคร มหาหิงคุ์ (2555) การพัฒนากระบวนการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา . สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

อภิชัย พันธเสน (2560) เศรษฐกิจพอเพียงพระอัจฉริยภาพและพระกรุณาธิคุณ: ของในหลวงรัชกาลที่9. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต.