ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าวจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

วัลย์จรรยา วิระกุล

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าวจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกแปลงใหญ่ข้าวในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 385 ราย เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าวจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ด้านคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ด้านศักยภาพการปรับตัวของผู้ประกอบการและด้านความสามารถในการดูดซึมความรู้และเทคโนโลยี โดยที่ด้านคุณลักษณะของผู้ประกอบการ  มี 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยความสามารถในการเจรจาต่อรองประสานงานและปัจจัยความเป็นผู้ประกอบการ ประกอบด้วย 14 ตัวแปร มีค่าความแปรปรวนรวม    คิดเป็นร้อยละ 65.175   ด้านศักยภาพการปรับตัวของผู้ประกอบการ มี 2 ปัจจัย ได้แก่ กระบวนการผลิต และอุตสาหกรรมสนับสนุน ประกอบด้วย 16 ตัวแปร มีค่าความแปรปรวนรวมคิดเป็นร้อยละ 68.644  ด้านความสามารถในการดูดซึมความรู้และเทคโนโลยี มี 2 ปัจจัย ได้แก่ การจัดการความรู้ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ประกอบด้วย 17 ตัวแปร มีค่าความแปรปรวนรวมคิดเป็นร้อยละ 74.364 ผลการวิจัยนี้แสดงถึงปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งถ้าผู้ประกอบการเกษตรกรข้าวแปลงใหญ่ อีกทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนนำปัจจัยไปเป็นแนวทางในการวางแผนกลยุทธ์ทางการแข่งขัน สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและการดำเนินธุรกิจได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เครือข่ายมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2562). การศึกษาศักยภาพในการปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจ (SMEs) เพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้า กรณีศึกษา: จังหวัดสงขลา. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563, จาก https://sme.go.th/upload/

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). เจาะทิศทางแรงงานเกษตร พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ก้าวสู่เกษตรกรรม 4.0. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2563, จาก www.oae.go.th/view/1/รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร/

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2563, จาก www.oae.go.th/view/1/รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร/

วสนันทน์ ศิริเลิศสกุล. (2556). ศักยภาพการจัดการที่มีผลต่อความสำเร็จของเกษตรกรชาวนาในเขตอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.

วีรนุช วิจิตร, นิโรจน์ สินณรงค์, เกศสุดา สิทธิสันติกุล และกฤตวิทย์ อัจฉริยะพสณิชกุล. (2562). การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุประชากรภาคเกษตรและประสิทธิภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 10(19), 1-17.

อภิชัย ดวงธิสาร, ไพรัช บุญประกอบวงศ์ และ สิทธิเดช วงศ์ปรัชญา. (2563). หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชน : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3), 106-120.

Cohen, W. M., and Levinthal, D. A. (1990). Absorptive capacity: A new perspective on learning and innovation. Administrative Science Quarterly, 35(1), 128-152.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2018). Multivariate data analysis (8th ed.). Boston: Cengage.

Hakala, H., Siren, C. & Wincent, J. (2016). Entrepreneurial orientation and international new entry: The moderating role of autonomy and structures in subsidiaries. Journal of Small Business Management, 54, 90-112.

Hatten, T. S. (2006). Small Business Management: Entrepreneurship and Beyond (3rd ed.). Bostion: Houghton Mifflin.

Karami, M, & Tang, J. T. (2019). Entrepreneurial orientation and SME international performance: The mediating role of networking capability and experiential learning. International Small Business Journal-Researching Entrepreneurship, 37(2), 105-124.

Ladyga, E. (2015). Entrepreneurship as a basis of self-management on the way to career. Polish Journal of Management Studies, 12(1), 87-95.

Porter, M. E. (1985). Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance. New York: The Free Press.

McClelland, D. C. (1999). Identifying competencies with behavioral-event interviews. Psychological Science, 9(5), 331-339.

Michael, E. P. (2007). Technology and Competitive Advantage. The Journal of Business Strategy, 5(3), 60-78.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. (2nd ed). New York: McGraw-Hill.

Rai, A, Arikan, I, Pye, J. & Tiwana, A. (2015). Fit and misfit of plural sourcing strategies and IT-enabled process integration capabilities: consequences of firm performance in the U.S. electric utility industry. MIS Quarterly, 39(4), 856-885.

Schumpeter, J. A. (2005). Development. Journal of Economic Literature, 43(1), 108-120.

Sireci, S., & Faulkner-Bond, M. (2014). Validity Evidence based on Test Content. Psicothema, 26(1), 100-107.

Spencer, L. M. and Spencer, S. M. (1993). Competence at Work: Model for Superior Performance. New York: Wiley.

Valle, R. S., Sanchez, R. S. & Sanchez, A. A. (2011). Human resource management and business strategy links: an empirical study. The International Journal of Human Resource Management, 10(4), 655-671.

Vanichbuncha, K. (2011). Advanced Statistics Analysis with SPSS. Bangkok: Thammasan Co.,Ltd.

Zahra, S & George, G. (2002). Absorptive capacity: a review, reconceptualization, and extension, Academy of Management Review, 27(2), 185–203.