ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยการบริหารของโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียน 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน และ 4) เพื่อนําเสนอสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนจากปัจจัยการบริหารของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 450 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสําเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน และใช้เทคนิคการสุ่มแบบชั้นภูมิและการสุ่มอย่างง่ายสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบ Stepwise ผลการวิจัยพบว่า1) ระดับประสิทธิผลของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาภายในโรงเรียน รองลงมา ได้แก่ความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาโรงเรียนและความสามารถในการพัฒนาเจตคติทางบวกของนักเรียน ตามลำดับ 2) ระดับปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (X1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (X2) และบรรยากาศองค์การ (X3) ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน ตัวแปรปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (X1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (X2) และบรรยากาศองค์การ (X3) ทุกตัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าอยู่ระหว่าง .599–.760 4) ปัจจัยทั้ง 3 ด้านดังกล่าวสามารถทํานายประสิทธิผลของโรงเรียนได้ร้อยละ 66.60 อย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .01 เขียนสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้
= .980+.309(X1)+.345(X2)+.098(X3)
= .484(X1)+.348(X2)+.102(X3)
Article Details
References
กมลวรรณ ยอดมาลี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยบูรพา).
กิติยา บุญแซม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยบูรพา).
จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยบูรพา).
ชลธิชา นารี.(2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา).
ณัฐชนันท์ โพชะราช. (2562).การพัฒนารูปแบบสมการโครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
ทินกร คลังจินดา และวัลลภา อารีรัตน์. (2558). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
ทิพมาศ ดนตรีพงษ์.(2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยบูรพา).
ธนากร คุ้มนายอ. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22.(วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
ธุมากร เจดีย์คำ.(2559).การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี.(วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).
นครินทร์ อิ่มสวาสดิ์. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยบูรพา).
ประภาษ จิตรักศิลป์. (2561). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนตามทัศนะของบุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ.(วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
ปิยะดา น้อยอามาตย์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด).
พิมพรรณ สุริโย. (2552). ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 9 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด).
รติรัตน์ คล่องแคล่ว. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในเขตภาคตะวันออก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา).
ฤทัยรัตน์ บุญอินทร์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา).
วันทนา เมืองจันทร์. (2552). บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนตามพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ 3) พ.ศ. 2553. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563. จาก : http://www.moe.go.th/wijai/role.htm,
วันวิสาข์ หอมขจร. (2561). ปัจจัยที่ส่งต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในกลุ่มศีขรภูมิ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่กำรศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิภาสิณีหัศกรรจ์. (2561). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนดีประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
วิมาลย์ ลีทอง (2563) ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
วีรยุทธ เสาแก้ว. (2560).ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา).
ศิริลักษณ์ ทิพม่อม. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
สุนิสา ภู่เงิน.(2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยบูรพา).
สุรสิทธิ์ เบญญาวัฒนาศิริ. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ดสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ).
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2563.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2563. จากhttps://www2.chaiyaphum3.go.th/home/index.php?option =info&task=plan63.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2545). คู่มือปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯกระทรวงศึกษาธิการ.
สำเริง หาญเสมอ. (2563). บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563. จาก http://www.tkl.ac.th/main/index.php/th/about-tkl/duty.
Halpin, A. W., & Crofts, D. B. (1963). The organizational climate of school Chicago : Midwest administration center. Chicago : University of Chicago.
Herzberg &Synderman. (1959). Block the motivation to work. New York : John Willey.
Horn-Turpin & Frances D. (2009). A Study Examining the Effects of Transformational Leadership Behaviors on the Factors of Teaching Efficacy, Job Satisfactionand Organizational Commitment as Perceived by Special Education Teachers. Virginia: Blacksburg.
Mott, P.E. (1972). The Characteristic of Effective Organization. New York : Harper and Row.
Sergiovanni. (2009). Theprincipalship: A reflective practice perspective. Boston:MA: Allyn and Bacon.