กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

สุปราณี ลาบบุญเรือง
เสาวลักษณ์ จิตติมงคล
ยุพาภรณ์ ชัยเสนา

บทคัดย่อ

             การวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของธุรกิจโรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 2) ศึกษาผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลกับผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 4) ศึกษาผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยศึกษาจากผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จำนวน 384 ราย ผู้วิจัยเลือกประชากรทั้งหมดเป็นประชากรกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ส่งทางไปรษณีย์ จำนวน 384 ชุด ตอบกลับจำนวน 232 ชุด และโทรศัพท์ติดตามได้รับการตอบกลับจำนวน 79 ชุด หลังจากตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล พบว่าไม่ครบถ้วนสมบูรณ์จำนวน 6 ชุด จึงทำการรวบรวมแบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล จำนวนทั้งสิ้น 305 ชุด คิดเป็นอัตราตอบกลับร้อยละ 78.81 จึงถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Correlation Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) 


             ผลการศึกษาพบว่า


             ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประทศไทย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก


             ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง


             จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลต่อการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยใช้ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ พบว่า ด้านการตลาดประชาสัมพันธ์ออนไลน์ ด้านช่องทางการตลาดออนไลน์ ด้านการจัดการชื่อเสียงองค์กรออนไลน์ และด้านการกำหนดรูปแบบเนื้อหาการตลาดดิจิทัล มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


          ผลการวิเคราะห์ผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พบว่า ด้านการตลาดประชาสัมพันธ์ออนไลน์ ด้านการจัดการชื่อเสียงองค์กรออนไลน์ และด้านช่องทางการตลาดดิจิทัลส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตามผลการวิเคราะห์พบว่าการกำหนดรูปแบบเนื้อหาการตลาดดิจิทัล ส่งผลต่อ ผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (OO) ในทิศทางตรงกันข้าม (Adjusted R2 = 0.436) ร้อยละ 43.60 เมื่อทราบค่าคงที่ (a) ทำให้ทราบค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวพยากรณ์ ซึ่งอยู่ในรูปคะแนนดิบ และทราบค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวพยากรณ์ซึ่งอยู่ในรูปคะแนนมาตรฐาน ซึ่งสามารถสร้างสมการพยากรณ์ถดถอยในรูปแบบคะแนนดิบ สามารถสร้างสมการถดถอยได้ ดังนี้  OO = 0.335(OPR) + 0.234(ORM) + 0.231(CM) - 0.121(CM)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤชณัท แสนทวี. (2563). อิทธิพลของชื่อเสียงองค์กรต่อความพึงพอใจและความไว้วางใจ ในตลาดออนไลน์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 105 – 111.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). จำนวนโรงแรมและห้องพัก. ที่มา https://www.tat.or.th

จารุพัฒน์ จรุงโภคากร. (2561). ปัจจัยการสร้าง Content Marketing ที่มีอิทธิพลต่อความสนใจในแบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นในประชากร Gen M. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ณฐมน กัสปะ และฐิตารีย์ ศิริมงคล (2564) “ส่วนประสมทางการตลาด 4C’s ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลนิ์ (เฟสบุ๊ค) ของผู้บริโภคในจังหวัด” วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 100 – 114.

บุญใจ ศรีสถิตนรากู. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ เล่มที่ : 232-236.

ภัทริกา ลาภชัยเจริญกิจ, เบญจวรรณ สุจริต และ ภาศิริ เขตปิยรัตน์. (2562). การตลาดดิจิทัลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าไอทีผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภค. คณะวิทยาการจัดการ, อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ศุภากร ชินวุฒิ. (2558). ผลกระทบของลักษณะของเว็บไซต์ ความไว้วางใจ ความพึงพอใจ ความจงรักภักดีและภาพลักษณ์ของตราสินค้าต่อความตั้งใจ ในการจองห้องพักผ่านทางเว็บไซต์ของโรงแรม. (การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

สำนักงาน กสทช. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544. สืบค้นเมื่อ , จาก http://www.nbtc.go.th [Acessed 23 September, 2017].

อธิรัฐ รัตนเศรษฐ. และ บุรพร กําบุญ. (2563). “ความสัมพันธระหวางคุณภาพการบริการ นวัตกรรมเชิงคุณค่าและการตลาดอิเล็กทรอนิกสที่มีอิทธิพลตอผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กในประเทศไทย” วารสารดุษฏีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 243 - 254.

อนพัทย์ หนองคู. (2563,) “พฤติกรรมและปัจจัยด้านสื่อดิจิทัลทางการตลาดที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่สวนดุสิต” สถาบันวิจัยและพัฒนาราชภัฎสวนสุนันทา, 8 – 10.

อนงค์นาถ ทนันชัย, อัศวิน แสงพิกุล, และ มนตรี วีรยางกูร. (2561). การดำเนินงานของโรงแรมอิสระ 3 ดาว ที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 61-76.

อนุสรา เรืองโรจน์ และ อริสสา สะอาด (2563). นักอิทธิพลของการทําตลาดเชิงเนื้อหาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจให้ผู้บริโภคใช้บริการแอปพลิเคชัน Viu. มนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ, 150-163.

Singh, T. P. and RatnaSinha (2017). The Impact of Social Media on Business Growth and Performance in India. International Journal of Research in Management &Business Studies. 36-40.

STEPS Academy. (2018). เคล็ดลับการทำ Digital Marketing ที่ธุรกิจโรงแรมมองข้าม. จาก https://stepstraining.co/entrepreneur/digital-marketing-for-hotelx]ujpo