ปัจจัยสมรรถนะ และแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพ การปฏิบัติงาน ของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ภริศฑ์ชาก์ ชดช้อย
แมนสรวง เสมอภาค
สุธาสิณี ชูจันทร์
อรณี นิสะนิ
ดนวัต สีพุธสุข

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยสมรรถนะในการปฏิบัติงาน และแรงจูงใจใน      การปฏิบัติงาน ของพนักงานในโรงแรมจังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยสมรรถนะใน            การปฏิบัติงาน และแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพการปฏิบัติงาน ของพนักงานในโรงแรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งการศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ประชากรเป้าหมายคือ โรงแรมที่มีการดำเนินการปฏิบัติงานครอบคลุมตามตำแหน่งงานครบวงจร 4 ด้าน จำนวน 105 แห่ง คือ ผู้จัดการ, งานการเงิน/บัญชี, งานต้อนรับ/การตลาด และ งานครัว/แม่บ้าน จำนวนทั้งสิ้น 420 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistic) ด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า ระดับความคิดเห็นของปัจจัยสมรรถนะในการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยระดับสูงที่สุด คือ ด้านการบริการ ด้วยค่าเฉลี่ย 4.628 และปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยระดับสูง คือ ด้านลักษณะการทำงาน ด้วยค่าเฉลี่ย 4.468 โดยปัจจัยของสมรรถนะการปฏิบัติงาน และปัจจัยของแรงจูงใจ ที่ส่งผลต่อคุณภาพการดำเนินงาน คือ ด้านทักษะ ด้านลักษณะการทำงาน และ ด้านรางวัลตอบแทนด้วยขนาดของอิทธิพลเท่ากับ .01 .5 และ 0.001 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ออนไลน์. (2562). ธุรกิจโรงแรมในภาคใต้ บทวิเคราะห์ธุรกิจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562, จาก : https://www.dbd.go.th

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ออนไลน์. (2562). บทวิเคราะห์จำแนกตามอุตสาหกรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562, จาก : https://www.krungsri.com/th

ประชาชาติธุรกิจ. (2561). สัมภาษณ์พิเศษ “ศุภวรรณ ถนอมเกียรติภูมิ” นายกสมาคมโรงแรมไทย. สืบค้นเมื่อ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562, จาก : https://www.prachachat.net/tourism/news-122784

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2555). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พรพิมล พิทักษธรรม. (2559). สมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงาน : กรณีศึกษา โรงแรม คอลัมน์แบงค็อก. (สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก).

พิชญา วัฒนรังสรรค์. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 4 ดาว ย่านสยามสแควร์. (สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ภริศฑ์ชาก์ ชดช้อย, ขวัญหทัย ใจเปี่ยม และ อาทิตย์ สุจเสน. (2564). ระบบการควบคุมภายในองค์กรที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การสอบบัญชีในมุมมองของผู้ตรวจสอบบัญชีและรับรองบัญชีในประเทศไทย. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 135-154.

มารวย วิชาญยุทธนากูล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 5 ดาว. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

รัศมี อิสลาม. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานและส่งผลให้เกิดความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา : พนักงานส่วนงานภาคพื้นดิน สายการบินไทยไลอ้อนแอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

สัมฤทธิ์ ศิริคะเณรัตน์, นีรนาท เสนาจันทร์, มัลลิกา เจแคน, ลักขโณ ยอดแคล้ว และ วิภาภรณ์ ศรีหาธาตุ. (2563). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(2), 113-123.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2561). รายชื่อโรงแรมที่ได้รับอนุญาต ปี 2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2562, จาก : https://www.pokkrongnakhon.com

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2561). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2561. สืบค้นเมื่อ วันที่ 2 พฤษภาคม 2562, จาก : https://www.mots.go.th

อัครเดช ไม้จันทร และ นุจรีย์ แซ่จิว. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(1), 95–121.

อัจจิมา บำเพ็ญบุญ และ พุฒิธร จิรายุส. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของ พนักงานกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(2), 97-104.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2553). Competency-based training road map (TRM). กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

อาภาภรณ์ สุขหอม, กิจฐเชต ไกรวาส และ อุษณากร ทาวะรม. (2563). ศักยภาพและความพร้อมเพื่อรองรับการท่องเที่ยววิถีฮาลาล ของจังหวัดท่องเที่ยวหลักในประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(2), 233-244.

David C. McClelland, David C. (1973). Testing for Competence Rather Than for Intelligence. American Psychologist. Retrieved from https://www.therapiebreve.be/documents/mcclelland-1973.pdf

Griffin, R. W. (2013). Management Principles and Practices. Canada: Nelson Education. Herzberg, F, Mausner, B., and Snyderman, B. B. (1959). The Motivation to Work (2thed.). New York: John Wiley & Sons.

Kim, H., Cheng, C. K., and O’Leary, J. T. (2007). Understanding participation patterns and trends Intourism cultural attractions. Tourism Management, 28(5), 1366-1371.

Mourato, Susana, Ozdemiroglu Ece, Hett Tannis, and Atkinson. (2004). Pricing cultural heritage. World Economics, 5(3),119-146.

Porter, L. W., and Lawler, E. E. (1968). Managerial Attitudes and Performance. Homewood, IL: Richard D. Irwin.