ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนขยายโอกาศทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2

Main Article Content

วัชรพล หมื่นสุรินทร์
เพียงแข ภูผายาง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความมีวินัยของนักเรียน 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยของนักเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยกับความมีวินัยของนักเรียน 4) สร้างสมการพยากรณ์ความมีวินัยของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 316 คน กำหนดขนาดโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .312 - .784 มีค่าความเชื่อมั่น .976 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


          ผลการศึกษาพบว่า


            1. ระดับความมีวินัยของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการแต่งกาย


            2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยของนักเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัจจัยจากกลุ่มเพื่อน


            3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยของนักเรียนทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวก ซึ่งมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน


  1. ปัจจัยทุกตัวสามารถพยากรณ์ความมีวินัยของนักเรียนได้ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .934 และมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 87.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถสร้างสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้

                สมการพยากรณ์รูปคะแนนดิบ


                  gif.latex?\widehat{Y}i = -0.613 + 0.238X1 + 0.167X2 + 0.358X3 + 0.222X4 + 0.187X5


                สมการพยากรณ์รูปคะแนนมาตรฐาน


                  gif.latex?\widehat{Z}yi = 0.272Zx1) + 0.144Zx2 + 0.325Zx3 + 0.196Zx4 + 0.155Zx5

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกช วรรณไชย. (2559). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการมีวินัยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาส ในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). กรอบความคิดเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่เน้นความมีระเบียบวินัยและความเป็นประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ดารารัตน์ ทัพโต. (2554). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

นฤมล ณรงค์วิจัย. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวินัยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตามความคิดเห็นของครู โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ในจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

เบญญาภา หลวงราช. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พลวัต แสงสีงาม.(2563) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 218-231.

สิริกร สินสม. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุดใจ ทวีสุข. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 4 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ วันที่ 10 มีนาคม 2560.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2550). รายงานวิจัยเรื่องสภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. (2563). สรุปข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาปี 2563. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.chaiyaphum2.go.th. (สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

เอื้อมพร ลาโยธี. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวินัยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.