สมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3

Main Article Content

ภัทรพงษ์ สันเทพ
เพ็ญนภา สุขเสริม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 จำแนกตามประสบการณ์ปฏิบัติงาน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ปีการศึกษา 2563 ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ จำแนกเป็น ประสบการณ์ปฏิบัติงานน้อยกว่า 10 ปี จำนวน 102 คน ประสบการณ์ปฏิบัติงาน 10 -20 ปี จำนวน 88 คน และประสบการณ์ปฏิบัติงานมากกว่า 20 ปี จำนวน 124 คน รวมทั้งสิ้น 314 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 อำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.219-0.635 ค่าความเชื่อมั่นที่ระดับ .909 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยใช้ F-test แบบ One-Way ANOVA


           ผลการวิจัย พบว่า


ระดับ ความคิดเห็นต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความคิดเห็นต่อระดับสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}  = 3.86, S.D.= 0.21) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู รองลงมาคือ ด้านการบริการที่ดี ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการทำงานเป็นทีม


  1. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 จำแนกตามประสบการณ์ปฏิบัติงาน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

        3. แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 จำนวน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ควรมีการวางแผนงานและมุ่งปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ แสวงหาความรู้ใหม่ๆ ปรับปรุงและพัฒนางานของตนอย่างสม่ำเสมอ 2) ด้านการบริการที่ดี ให้บริการด้วยความเต็มใจ ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ ให้บริการที่รวดเร็วจึงเป็นที่ประทับใจ เป็น One stop service คือไปแห่งเดียวงานสำเร็จ คุ้มค่า ถูกต้องชัดเจน 3) ด้านการพัฒนาตนเอง โดยครูควรมีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้กับผู้อื่น ตลอดจนการทำ PLC ระหว่างครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนางานและประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการศึกษา 4) ด้านการทำงานเป็นทีม ควรมีการฝึกทักษะในการทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาและในทุกสถานการณ์ และ 5) ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู สนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพ ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปฏิบัติตนตามหลักการครองตน ครองคน ครองงาน และเป็นกัลยาณมิตรต่อทุกคน ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามหลักจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และดำรงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์และมาตรฐานวิชาชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชื่นกมล ประสาตร์. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะครูกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา พระนครศรีอยุธยา:

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10 (ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญหนุน ซาเสน (2558). การพัฒนาสมรรถนะหลักครูของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

พิรญาณ์ จุ้ยเจริญ. (2557). การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ภัทรสุดา เกิดแสง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของครูผู้สอนกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สาคร ธงชัย และวิเชียร รู้ยืนยง. (2564). การส่งเสริมตามบทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษา สังกัดวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดขอนแก่น สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา,วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 168-182.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. (2563). แผนการดำเนินงานประจำปี 2563. ชัยภูมิ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครูู (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2553). กฎหมายและระเบียบในการบริหารงานบุคคลสำหรับขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงาน คณะกรรมการขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

_____. (2564). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2564. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุภาพรรณ ธะยะธง. (2562). การศึกษาสมรรถนะของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. การค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.