แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1

Main Article Content

ชัชชัย ลิชผล
ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล
ทิวัตถ์ มณีโชติ

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำ ความคาดหวังของครูที่มีต่อภาวะผู้นำ และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 จำนวน 196 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการบริหารการศึกษาและผู้บริหารโครงการโรงเรียนประชารัฐ จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนี PNI modified ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่คาดหวัง ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 พบว่า ด้านคุณธรรมจริยธรรม มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนามากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านบุคลิกภาพ ตามลำดับ และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 มีทั้งหมด 4 แนวทาง คือ การทำงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ความรู้การบริหารงานทั่วไปด้านอาคารสถานที่ ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม ทักษะในการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมและสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม และการวางตัวและรักษาระยะห่างกับบุคลากรอย่างเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตภัทร อรุณดี ยงยุทธ ยะบุญธง และชูชีพ พุทธประเสริฐ. (2561). แนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2556). เทคนิคการบริหารงานในสถานศึกษา: กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

พลวัต แสงสีงาม. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นาเชิงจิตวิญญาณของผู้บริหารโรงเรียน ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 218-231.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2561). การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33(106), 1-16.

เพ็ญศิริกรณ์ ประเทียบอินทร์. (2559). องค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลต่อการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี).

วัชรินทร์ ยศรุ่งโรจน์ และณรงค์ศักดิ์ จันทร์นวล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33. พิฆเนศวร์สาร, 13(1), 97-115.

วิทยากร เชียงกูล. (2559). รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์, 5-6.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). PISA Thailand. สืบค้นจาก https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2015summaryreport/

สมชาย รุ่งเรือง และธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). รูปแบบการพัฒนาผู้นำสู่การสร้างแรงผลักดันเชิงสร้างสรรค์. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(1), 29-46.

สานพลังประชารัฐ. (2562). การสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมด้านการศึกษา. สืบค้นจาก http://pracharathschool.go.th/news/detail/68908

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. (2562). ข้อมูลสารสนเทศ สพป สุพรรณบุรี เขต 1. สืบค้นจาก http://www.suphan1.go.th/suphan1/index.php/2014-03-18-08-44-82

สุนันทา เลาหนันทน์. (2540). การสร้างทีมงาน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ดี.ดี.บุ๊คสโตร์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัศนีย์ สุกิจใจ. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารวิจัยพุทธศาสตร์, 3(1), 23-37.

Brown, M. E., Treviño, L. K., & Harrison, D. A. (2005). Ethical leadership: A social learning perspective for construct development and testing. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 97(2), 117–134.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.