ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม

Main Article Content

ปริญ อร่ามเรืองกุล

บทคัดย่อ

สิทธิมนุษยชน (Human Rights) เป็นมาตรฐานสากลที่บุคคลทุกคนไมว่าจะอยู่ในประเทศใดก็ตามพึงจะต้องไดรับการคุ้มครองในฐานะที่เกิดเป็นมนุษย์ มีความเท่าเทียมกันในแง่ของศักดิ์และสิทธิ์ เพื่อดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา สีผิว อายุ และสถานภาพ ทางกายภาพและสุขภาพ รวมทั้งความเชื่อทางสังคม การเมือง ชาติกำเนิดเหล่านี้ คือ สิทธิที่มีมาแต่กำเนิด ไม่สามารถถ่ายโอนกันได้ เช่น สิทธิในร่างกาย สิทธิในชีวิต เป็นต้น ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วมนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายล้วนต้องการปัจจัยในการดำรงชีวิตด้วยกันทั้งนั้น นับแต่ปัจจัยขั้นพื้นฐานที่ว่าด้วยอาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่มห่ม การดำรงเผ่าพันธุ์ การมีชีวิตรอด ฯลฯ ความต้องการขั้นพื้นฐานเหล่านี้นับเป็นปัจจัยสำคัญกับชีวิตเป็นที่สุด และเหมือนกันทั้งมนุษย์และสัตว์ ซึ่งสิทธิดังกล่าวหากเป็นความชอบธรรมของมนุษย์ก็คือ สิทธิมนุษยชน ทั้งมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม มนุษย์กับธรรมชาติ และแม้แต่กับสัตว์ การคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานมีความจำเป็นอยู่เสมอ เหล่านี้นับเป็นสิ่งที่มนุษยชาติต่างให้ความตระหนัก การคำนึงถึงสิทธิดังกล่าว ซึ่งในปัจจุบันปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในด้านการค้ามนุษย์ แรงงานข้ามชาติ สิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม สิทธิมนุษยชนทุกข้อจะไร้ผล หากมนุษย์ไม่เชื่อมั่นและศรัทธาในคุณค่าแห่งสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของมนุษย์ ความยุติธรรมเป็นของทุกคน และทุกคนต้องได้รับความยุติธรรม การออกกฎหมายต่างๆ สามารถทำได้เพื่อแก้ไขปัญหา การละเมิดสิทธิแต่ไม่สามารถที่จะปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนทุกระดับได้ยึดหลักธรรมคำสอนทางศาสนามาพึงปฏิบัติได้ การส่งเสริมให้ประชาชนเป็นคนดีควบคู่กับการเป็นคนเก่งจึงเป็นสิ่งจำเป็น ให้ประชาชนทุกคนได้ตระหนักอยู่เสมอว่า “กรรมยุติธรรมเสมอ”

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศอเมริกา, (2563). สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มิ.ย.2563. จาก https://www.abnewstoday.com/15008.

กรณีการฆาตกรรมอย่างโหดร้ายของจอร์จ ฟลอยด์, (2563). สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิ.ย.2563. จาก https://www.abnewstoday.com/15014.

กองส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม. (2561). ชุดความรู้สิทธิมนุษยชน สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ สนธิสัญญาหลักระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทย 25 พ.ค.2561

กรศิริ คตภูธร และชูชิต ชายทวีป, (2558). การศึกษาหลักจริยศาสตร์ของขงจื้อ A Study of the Ethical Principles of Confucianism วารสารวิชาการ ม.กรุงเทพธนบุรี ที่ 3 ฉบับที่ 2 พ.ย. 2557 - เม.ย 2558.

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, (2563). สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มิ.ย.2563. จาก http://www.nhrc.or.th/getattachment/News/Information-News/%

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, (2563). ผลการดำเนินงานข้อมูลสถิติที่น่าสนใจสถิติเรื่องร้องเรียนสถิติ เรื่องร้องเรียน (ปี 2563 ไตรมาส 1-2). สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มิ.ย.2563. จาก http://www.nhrc.or.th/ NHRCT-Work/Statistical-information/Statistical-information-on-complaints/yearly-2563.aspx)

คัมภีร์ในศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมเชื่อว่าเป็นพระวจนะของอัลลอฮ์ (พระเจ้า) ที่ประทานผ่านทางเทวทูตญิบรีลมาสู่ศาสดามูฮัมหมัด คำว่า กุรอาน มาจากรากศัพท์ในภาษาอาหรับแปลว่า การอ่าน หรือ อาขยานจาก https://sites.google.com/site/sasnaxislam5920210194/khamphir-xal-ku-rxan

ความรู้เกี่ยวกับศาสนาคริสต์และหลักธรรม, (2563). สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มิ.ย.2563. จาก https://www.exodus-

ปัจฉิมโอวาทของท่านนบีมูฮัมหมัด, (2563). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2563. จาก https://www.islammore.com

พระราชบัญญัติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 จาก, https://sites.google.com/site/may00may00may/siththi-mnusy-chn/reuxng-thi6phrb-siththi-

พระสมหมาย อตฺถสิทฺโธ (พืชสิงห์), (2557). ศึกษาสิทธิมนุษยชนในพระพุทธศาสนา สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการสอบวัดคุณสมบัติรายวิชาพระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่ ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนาบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 32-33).

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก, 6 เมษายน 2560 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 123 ก 12 ธันวาคม 2560.

ศาสนาชินโต, (2563). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2563. จาก http://book.dou.us/doku.php?id=df404:9

สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศ, (2563). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2563. จาก https://sites.google.com/site/natthida411/siththi-mnusy-chn-human-rights.

สุมิตรชัย หัตถสาร และ สุรชัย ตรงงาม, (2553). “การพิสูจน์สิทธิในคดีป่าไม้และที่ดิน” (ศึกษาจากมุมมองของทนายความ นักพัฒนาและชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับคดีป่าไม้และที่ดิน), รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, 2553).

ฮิจเราะห์ศักราช หมายถึง ศักราชแห่งการอพยพ. ฮิจเราะห์ศักราชเป็นระบบบอกศักราชของชาวมุสลิม ปีฮิจเราะห์ศักราชเริ่มนับตั้งแต่ปีที่นบีมุฮัมหมัดศาสดาของศาสนาอิสลามอพยพลี้ภัยจากนครเมกกะหรือมักก๊ะห์ ไปสู่นครมะดีนะห์เป็นปีแรก ตรงกับปี พ.ศ. 1165 ใช้อักษรย่อว่า ฮ.ศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2563. จาก: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา http://www.royin.go.th/?knowledges=

Brun Weston “Definition of Human Rights” New Encyclopedia Britannica, Vol.20,15th en. (London: Britannica inc.,1992) p, 658.

Klaus Stern, Das Staatsrecht der Bundesrepublik Deutschland, Band 11 1/2, Allgemeine Lehren den Grundrechte, S.1113, Handbuch Buch. Hardcover (In Leinen) 1994 CVI, 1918 S

Mustafa al-Siba‘i, (1982: 47). อัลฮะดีษ (alhadith) หมายถึง สิ่งที่พาดพิงถึงท่านศาสดาในทุกๆ ด้าน ทั้งที่เป็นคำพูด การกระทำ การยอมรับ คุณลักษณะทั้งในด้านสรีระและจริยะ ตลอดจนชีวประวัติของท่านทั้งก่อนและหลังการได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา อัลฮะดีษกับสุนนะฮฺ มีความหมายเดียวกันตามทัศนะของนักปราชญ์ ฮะดีษ (มุหัดดิษีน)

The World Justice Project, (2563). แปลสรุปจาก World Justice Project เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการสัมมนาหลักสูตร“ผู้บริหารงานด้านกฎหมายภาครัฐระดับสูง” จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในวันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม 2555. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2563. จาก https://worldjusticeproject.org/