ปัญหาอุปสรรคและผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษี ตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

อำนวย สังข์ช่วย

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1).ศึกษาสภาพการดำเนินงานจัดเก็บภาษีทรัพย์สินที่ดินและสิ่ง  ปลูกสร้าง 2).ศึกษาปัญหาอุปสรรคและผลกระทบจากการดำเนินงานจัดเก็บภาษีทรัพย์สินที่ดินและสิ่งปลูก  สร้าง และ 3).ศึกษาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานจัดเก็บภาษีทรัพย์สินที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตาม พ.ร.บ.  ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ในเขตพื้นที่อำเภอหนองเรือ  จังหวัด  ขอนแก่น  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเจาะลึก  ประชากรกลุ่มเป้าหมายผู้ให้  ข้อมูล จำนวน 20 คน คัดเลือกโดยวิธีเจาะจงตามสถานการณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา 


ผลการศึกษา พบว่า


          1.สภาพการดำเนินงานจัดเก็บภาษีทรัพย์สินที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง  พบว่า   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัดให้มีการประชุม อบรมเจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน และประชาชนผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความรู้  กฎหมาย พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562.ใหม่  มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์ ทางหอกระจายข่าวชุมชน จัดส่งหนังสือถึงเจ้าของบ้านโดยตรง และมีการจัดเก็บภาษีตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด  


          2.ปัญหาอุปสรรคต่อการดำเนินงานจัดเก็บภาษีทรัพย์สินที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง  พบว่า รัฐประกาศใช้ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 เก็บภาษีรวดเร็วเกินไป  หน่วยงานส่วนท้องถิ่น ข้าราชการเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้ปฏิบัติ ตั้งตัวไม่ทัน  ประชาชนยังไม่เข้าใจในระบบการเสียภาษี หน่วยงานส่วนท้องถิ่น มีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอไม่สมดุลยกับปริมาณงานในหน้าที่  ท้องถิ่นได้รับฐานข้อมูลจำนวนที่ดินกับรายละเอียดของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ตรงกัน


          3.ผลกระทบต่อการดำเนินการจัดเก็บภาษีรายได้จากประชาชนผู้เสียภาษีทรัพย์สินที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง  โดยภาพรวมพบว่า 1). ผลกระทบต่อรัฐ คือ  การประกาศใช้ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูก สร้าง พ.ศ. 2562 รวดเร็วเกินไป หน่วยงานส่วนท้องถิ่นตั้งตัวไม่ทัน ประชาชนยังไม่เข้าใจในรายละเอียดของการเสียภาษีอย่างทั่วถึง ท้องถิ่นมีฐานข้อมูลบัญชีทรัพย์สินไม่ตรงตามที่ประชาชนครอบครองจริง  2).ผลกระทบต่อประชาชนในภาพรวม พบว่า ประชาชนขาดความรู้ ไม่เข้าใจในกฎหมาย การเสียภาษีระบบใหม่ จึงขาดความร่วมมือ ขาดการมีส่วนร่วมต่อการมาเสียภาษี


          4.แนวทางพัฒนาการดำเนินงานจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พบว่า  1.) ควรจัดตั้งงบประมาณ ด้านการประชาสัมพันธ์จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในระบบการเสียภาษีให้กับประชาชนทุกครัวเรือน 2.) ควรส่งเสริมให้ประชาชนหรือผู้นำชุมชน เข้ามามีบทบาท มีส่วนร่วม ในการประชาสัมพันธ์   3.) ควรเพิ่มอัตรากำลังเจ้าที่ตามตำแหน่งหน้าที่ให้เพียงพอ 4.) รัฐ ควรจัดให้มีการยื่นแบบเสียภาษีระบบออนไลน์ การชำระภาษีผ่านระบบ Net Bank   5.) รัฐ ควรส่งเสริมให้มีมาตรการณ์ สร้างแรงจูงใจ ให้สิ่งตอบแทนแก่ผู้มาเสียภาษีตามกำหนด หรือจัดให้มีส่วนลดหย่อนภาษี  เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันยาวรรนธ์ กำเนิดสินธุ์,(2561) “ประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของเทศบาล ศึกษากรณี เทศบาลตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ,” สืบค้น เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2561, จาก http://human.bsru.ac.th/

จีรวัฒน์ เจริญสุข. (2557)“ปัญหาการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงเกลือ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2557.

ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

เชาวินทร์ กองผา, (2560) “ปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งขวางอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี”,วิทยานิพนธ์ (การเมืองการปกครอง) สาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,2560.

ที่ทำการปกครองอำเภอหนองเรือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ถนนมะลิวัลย์ หมายเลขโทรศัพท์ 0-4329-4112,0-4329-4101 หมายเลขโทรสาร 0-4329-4112 (ข้อมูลวันที่ 19 กันยายน 2563 )

ปกรณ์ อุ่นหิรัญสกุล, บทความวิชาการ “อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง”กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอว์ แอนด์ เอควิตี้ จำกัด สืบค้นจาก pakorn@lawandequity.co

ลันตา อุตมะโภคิน. (2553). ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง : ก้าวต่อไปของการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิผล. วารสารจุลนิติ, (กันยายน-ตุลาคม), 64-71.

อาภา จำลองศักดิ์ , ( 2554). “ปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดเก็บรายได้ของเทศบาลตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน,” (ปัญหาพิเศษ) ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2554.