ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารแบบบุฟเฟต์ประเภทปิ้งย่าง ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ลักขโณ ยอดแคล้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารแบบบุฟเฟต์ประเภทปิ้งย่างของผู้บริโภคในเขตจังหวัดขอนแก่น และ2) เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารแบบบุฟเฟต์ประเภทปิ้งย่างของผู้บริโภคในเขตจังหวัดขอนแก่นจำแนกตามอายุ รายได้ และอาชีพ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้บริโภคอาหารแบบบุฟเฟต์ประเภทปิ้งย่างในเขตจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคอาหารแบบบุฟเฟต์ประเภทปิ้งย่างในเขตจังหวัดขอนแก่น จำนวน 384 คน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติเชิงการทดสอบ F–Test หรือ One way ANOVA และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบสเต็ปไวซ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารแบบบุฟเฟต์ประเภทปิ้งย่างของผู้บริโภคในเขตจังหวัดขอนแก่นมีปัจจัยที่สำคัญ 7 ปัจจัย ประกอบด้วย ความสดใหม่ของอาหาร  อุปกรณ์หรือภาชนะที่ใช้ในการบริการสะอาดและสวยงาม ความรวดเร็วในการจัดที่นั่ง ความสะอาดของอาหาร แก้ไขปัญหาของลูกค้า ร้านอาหารมีความสะอาด และมีเวลาเปิด – ปิดร้าน ตามลำดับ 2) ผลเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารแบบบุฟเฟต์ประเภทปิ้งย่างของผู้บริโภคในเขตจังหวัดขอนแก่น จำแนกตามอายุ รายได้ และอาชีพ โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจ. (2562). ธุรกิจร้านอาหารบทวิเคราะห์ธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2564, จาก https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2562/T26/T26_201902.pdf.

ชลลดา มงคลวนิช, จักษณา พรายแก้ว และปุณณภา กนกวลัยวรรณ. (2560). ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการบริโภคอาหารบุฟเฟ่ต์ในโรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 18(33), 81-95.

ณัฏฐกฤติ นิธิประภา. (2562). สถานการณ์และแนวโน้มธุรกิจปี 2562. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20190328081528.pdf.

ณัฐศาสตร์ ปัญญานะ และวัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการอาหารตามสั่งแบบจัดส่ง. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11( 1), 53-66.

ปัทมา เสนทอง ,กิตติ สุวรรณโณ , ชิน ศรีมาลานนท์ ,ฐิตาพร มณีคง ,ธนกร ชูกระชั้น , มานิตา โชติวงศ์ ,รุ่งจิรา สุขแปะเง้า , วัชรี ยวนเศษ และ นัฐลิกา เพ็งรักษ์ .(2564). ที่มีผลในการเลือกร้านหมูกระทะบุฟเฟ่ต์และปัจจัยสภาพแวดล้อมในร้านหมูกระทะบุฟเฟ่ต์ที่มีผลต่อสุขภาพของนักศึกษา.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(1), 180-192.

วิชยา ทองลัพท์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการ ร้านอาหารประเภทชาบูของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

วิลาสินี พิพัฒน์พัลลภ, เอก บุญเจือ และ วรัท วินิจ. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้บริการร้านอาหารบุฟเฟต์ปิ้งย่าง สไตล์ญี่ปุ่นในอำเภอเมืองเชียงใหม่. CMU Journal of Business, 1(4), 212–288.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563 ). ปี 2563 ธุรกิจร้านอาหารเผชิญกับโจทย์ท้าทายสูง และรูปแบบการแข่งขันที่เปลี่ยนไป คาดมีมูลค่า 4.37 – 4.41 แสนล้านบาท. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์2564, จาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z3067.aspx.

อกนิษฐ์ เชยคำดีดี และชญาภัทร์ กี่อาริโย. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารติ่มซำอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาการจัดการ, 5(1), 39-58.

Bilog, D. Z. (2017). Investigating Consumer Preferences in Selecting Buffet Restaurants in Davao Region, Philippines. Journal of Administrative and Business Studies, 3(5), 221–233.

Sincharu, T. (2014). Research and analysis of statistical data with SPSS and AMOS (15th ed.). Bangkok: Business R&D.