การศึกษาความคุ้มค่าในการจัดการน้ำท่วมจากมูลค่าความเสียหายและผลกระทบ ของภัยน้ำท่วม: กรณีศึกษาถนนบ้านกอก ชุมชนบ้านกอก จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย

Main Article Content

ธีนิดา บัณฑรวรรณ
เจษฎา คำผอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามูลค่าความเสียหายด้านที่อยู่อาศัย ด้านยานพาหนะและด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นของผู้ประสบภัยน้ำท่วมในบริเวณถนนบ้านกอก 2) ประเมินความคุ้มค่าของมาตรการการจัดการน้ำท่วมบนถนนบ้านกอกของมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อศึกษาระดับความต้องการและความสำคัญขอความช่วยเหลือของผู้ประสบภัยน้ำท่วมบนถนนบ้านกอก 4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ประสบภัยน้ำท่วมบนถนนบ้านกอกต่อความช่วยเหลือของหน่วยงานภาครัฐ งานวิจัยนี้มีพื้นที่ศึกษาคือ ถนนบ้านกอกในเขตชุมชนบ้านกอก จังหวัดขอนแก่น โดยได้มีการเก็บข้อมูลแบบสอบถามกับผู้ประสบภัยน้ำท่วม จำนวน 401 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐานและร้อยละ) และวิเคราะห์ความคุ้มค่าโครงการโดยวิธี Benefit Cost Ratio (B/C Ratio) ผลการศึกษาพบว่า จากเหตุการณ์น้ำท่วมส่งผลต่อที่อยู่อาศัย ยานพาหนะ สุขภาพร่างกายและจิตใจ เป็นมูลค่าความเสียหายทั้งหมด 322,250 บาท โดยผู้ประสบภัยยังมีความคิดเห็นว่า การช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการซ่อมแซมบ้าน ซ่อมแซมยานพาหนะ เป็นต้น เป็นสิ่งที่สำคัญและมีความความต้องการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ในส่วนการวิเคราะห์ความพึงพอใจในการช่วยเหลือจากภาครัฐในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ในส่วนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมมาตรการเบื้องต้นของมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ การขุดลอกท่อระบายน้ำ และลดน้ำในบ่อน้ำเพื่อเป็นพื้นที่รับน้ำชั่วคราว เป็นต้น พบว่าค่า B/C Ratio  เท่ากับ 8.5 หมายความว่ามาตรการที่มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือลงทุนกับการแก้ไขน้ำท่วมนั้นคุ้มค่าแก่การลงทุน ผลการศึกษาทั้งหมดจะนำส่งต่อไปยังหน่วยที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐภาคเอกชนเพื่อนำไปสร้างเป็นมาตรการหรือนโยบายการแก้ไขน้ำท่วมบนถนนบ้านกอก ชุมชนบ้านกอก จังหวัดขอนแก่นต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). มูลค่าความเสียหายจากอุทกภัย, สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.onep.go.th/.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เดือนรุ่ง ช่วยเรือง และ นัทธ์หทัย หลงสะ. (2558). การเปรียบเทียบผลตอบแทนทางการเงินของการลงทุนในการทำสวนยางพาราระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคใต้ของไทย. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 28(3), 307-324.

เทศบาลตำบลบ้านเป็ด. (2564). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.banped.go.th/general.

เทศบาลนครขอนแก่น. (2561). รายงานสถิติจำนวนประชากร ความหนาแน่น อัตราการเพิ่มของประชาชน เทศบาลนครขอนแก่น ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2550-2561. จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย.

ธราธิป ระวังสุข. (2557). มูลค่าความเสียหายและผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำท่วมต่อผู้ประสบภัยในอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ประสิทธิ์ ไหมสีเสน. (2550). ความต้องการและความพึงพอใจต่อการได้รับความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิในจังหวัดกระบี่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี).

ปิยธิดา ศรีพล, รัชดา ภักดียิ่ง, พรสวรรค์ ชัยแรง, รุ่งนภา กิตติลาภ และ อณพสิษฐ ไชยเชษฐ์. (2563). แนวทางการจัดการน้ำเสียบึงหนองโคตรของเทศบาลตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(2), 124-136.

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2564). รายงานการสำรวจโครงการศึกษาข้อมูลสำหรับใช้แก้ปัญหาน้ำท่วมบริเวณมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

อุรารัศมิ์ บุรณศิริ, สันทัด ทองรินทร์ และ ศิริวรรณ อนันต์โท. (2557). การเปิดรับและการตระหนักรู้ของประชาชนเกี่ยวกับการสื่อสารแจ้งข่าวเตือนภัยน้ำท่วมในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม จังหวัดลพบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 4(2), 53-59.