การบูรณาการและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกไม้เศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีคุณภาพในพื้นที่เสื่อมโทรม กรณีศึกษากลุ่มชุมชนภาคกลางตอนล่าง

Main Article Content

อาคีรา ราชเวียง
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ
สมใจ ศรีเนตร
วีรวัฒน์ เพ็งช่วย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการบูรณาการและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกไม้เศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีคุณภาพในพื้นที่เสื่อมโทรม กรณีศึกษากลุ่มชุมชนภาคกลางตอนล่าง เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนารูปแบบการบูรณาการและการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ ได้แก่ เกษตรกรที่ปลูกไม้พืชเศรษฐกิจและพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ป่าไม้ของภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และผู้เชี่ยวชาญ โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 65 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบที ส่วน    การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาสาระ


ผลการวิจัยพบว่า การปลูกไม้เศรษฐกิจและการสร้างผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีคุณภาพในพื้นที่เสื่อมโทรมจากกรณีศึกษากลุ่มชุมชนภาคกลางตอนล่างให้ประสบความสำเร็จมีรูปแบบการดำเนินการ ได้แก่ 1) การจัดการปลูกไม้เศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น 4 ด้าน ได้แก่ บุคลากร เงินลงทุน วัสดุอุปกรณ์ และวัตถุดิบ 2) ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) 4 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ การมีส่วนรวม และองค์ความรู้และข้อมูลข่าวสาร 3) การจัดการความรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นต่องานหรือกิจกรรม (2) การสร้างและจัดหาความรู้ (3) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน (4) การนำประสบการณ์มาใช้ (5) การจัดการและจัดเก็บความรู้ และ 4) การถ่ายทอดเทคโนโลยี 7 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การสำรวจทรัพยากร (2) การจัดประชุมหรือเสวนาองค์ความรู้ (3) การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากร (4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน (5) การจัดทำเอกสารและข้อมูลเผยแพร่ (6) การสร้างกลยุทธ์การจัดการทรัพยากร และ (7) การนำกลยุทธ์ไปใช้และติดตามประเมินผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันต์ อินทุวงศ์. (2558). การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการยอมรับนวัตกรรมสู่ชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 10(2), 1-10.

ชำนาญ ขุมทรัพย์. (2562). การถ่ายทอดเทคโนโลยีของโครงการวิจัยและพัฒนาสู่ภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 10(2), 12-25.

ทวีวัฒน์ จิตติเวทย์กุล, ลักษณพร โรจน์พิทักษ์กุล, ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์ และกิตติวงค์ สาสวด. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการทุนภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมผลิตภาพของชุมชนมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 7(1), 41-48.

ธิติ พานวัน. (2563). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ป่าชายเลนในพื้นที่อําเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎรธานี. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 5(2), 24-35.

นราศรี ไววนิชกุล และชูศักดิ์ อุดมศรี. (2548). ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิวัติ เรืองพานิช. (2558). วิทยาศาสตร์ทุ่งหญ้า. กรุงเทพมหานคร: กองทุนจัดพิมพ์ตำราป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2555). การเปรียบเทียบ : เครื่องมือสำหรับการพัฒนาองค์กรให้เป็นยุคใหม่. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 4(1), 22-35.

สุทธิพันธ์ อรัญญวาส. (2563). ป่าชุมชน: แนวคิดทางนิเวศวิทยาในการจัดการป่าไม้(ป่าชุมชน) ของพระสงฆ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(2), 230-246.

สุนทรี จีนธรรม, จีรภัทร์ อัฐฐิศิลป์เวท และปัณณ์รภัส ถกลภักดี. (2562). ภูมิปัญญาท้องถิ่นการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรในชุมชน ตำบลบ่อเงิน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(3), 137-148.

อาคีรา ราชเวียง และพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2564). การศึกษาความต้องการและแนวทางการพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 4(1), 87-117.

______, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, ฤทธิเดช พรหมดี, พล.ต.ต.วิบูลย์ ผกามาศ และพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2564). สมาร์ทฟาร์ม...นวัตกรรมและเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อสร้างศักยภาพเกษตรกรไทยยุคไทยแลนด์ 4.0. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, 7-8 กรกฎาคม 2564, 186-200.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

เอื้ออนุช ถนอมวงษ์, ทิพย์วัลย์ สุรินยา, งามลมัย ผิวเหลือง, นรุตม์ พรประสิทธิ์ และวิเชียร ปรีชาธรรมวงศ์. (2561). การมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเยาวชน อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(1), 115-126.

Agung, L. (2015). The development of local Wisdom-Based social science learning model with Bengawan Solo as the Learning Source. American International Journal of Social Science, 4(4), 51-58.

Hesam Arefi, I., Saffari, M. and Moradi, R. (2017). Evaluating planting date and variety management strategies for adapting winter wheat to climate change impacts in arid regions. International Journal of Climate Change Strategies and Management, 9(6), 846-863.

Ma, N., Li, C. and Zuo, Y. (2019). Research on forest insurance policy simulation in China. Forestry Economics Review, 1(1), 82-95.

Phakamach, P. (2019). Knowledge Management Strategies: Key Issues of the Digital Economy & Society. National and International Conference on Smart Society Development (NICS2019), February 9, 2019. Pathum Thani: Thailand.