การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการนิเทศสู่ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาชาติ แผนพัฒนาการศึกษา ระยะที่ 13 (พ.ศ. 2564-2569)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่อง การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการนิเทศสู่ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาชาติ แผนพัฒนาการศึกษา ระยะที่ 13 (พ.ศ. 2564-2569) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษาสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการนิเทศกและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสมาพันธ์ศึกษานิเทศก์แห่งประเทศไทย และ Beijing Silk Road Xinyu Culture Exchange Center ประเทศจีน โดยเครื่องมือเป็นแบบสอบถามและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สังเคราะห์โดยประยุกต์ใช้ SWOT Analysis และ 2) สัมมนาวิชาการแบบออนไลน์ เรื่อง วิพากษ์ ความต้องการของผู้ใช้หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการนิเทศและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยผ่านกระบวนการดำเนินงานการบริหารจัดการของสมาพันธ์ศึกษานิเทศก์แห่งประเทศไทย ผลการศึกษา สรุปได้ว่า
มีการดำเนินการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการนิเทศสู่ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาชาติ การสัมมนาวิชาการแบบออนไลน์ เรื่อง วิพากษ์ความต้องการของผู้ใช้หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการนิเทศและพัฒนาการศึกษา ทำให้ทราบจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการการปฏิรูประบบการนิเทศการศึกษา ทั้ง 3 ระดับคือ ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และระดับโรงเรียน เพื่อนำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์ใน การพัฒนาการปฏิรูประบบการนิเทศการศึกษา ติดตาม ประเมินผล ส่งเสริม และสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาด้านการพัฒนาและใช้หลักหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาชาติ ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). แนวทางการดำเนินการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ฉลาด จันทรสมบัติ. (2564). รายงานผลความต้องการของผู้ใช้หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการนิเทศและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). การนิเทศการสอน. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พินิจ มีคำทอง. (2559). การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมสถานศึกษาด้วยเทคนิค SWOT Analysis. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น : หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
สมาพันธ์ศึกษานิเทศก์แห่งประเทศไทย. (2558). สรุปผลการประชุมพิจารณาสังเคราะห์งานและแนวทางการพัฒนางานของศึกษานิเทศก์ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. ระหว่างวันที่ 10-14 กันยายน 2558. ณ โรงแรมไอเดิลเซอร์วิส เรสชิเด้น อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี.
สุวรรณา โชติสุกานต์. (2547). การนิเทศการศึกษา. ปทุมธานี : โปรแกรมการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
อารมณ์ ฉนวนจิตร. (2551). การนิเทศการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Glickman, C.D. (1981). Developmental Supervisor: Alternative Practices for Helping Teachers Improve Instruction. Washington D.C.: Development.
Harris, Ben M. (1985). Supervisory Behavior in Education. Prentice- Hall, Englewood Cliffs, Newlersy.