แบบจำลองการขนส่งเครื่องมือแพทย์ประเภทเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ กรณีศึกษา หน่วยจ่ายกลางโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Main Article Content

อภิวัฒน์ สุพรรณ์พุทธา
กฤตพา แสนชัยธร

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องการสร้างแบบจำลองการขนส่งเครื่องมือแพทย์ประเภทเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ กรณีศึกษา หน่วยจ่ายกลางโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการการขนส่งเครื่องมือแพทย์ฯและเพื่อสร้างแบบจำลองกระบวนการขนส่งเครื่องมือแพทย์ฯที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการสัมภาษณ์ชนิดแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) จากการศึกษากระบวนการขนส่งเครื่องมือแพทย์ฯพบว่าแผนกหน่วยจ่ายกลางมีปริมาณการสั่งซื้อสินค้าคงคลังต่อปี เพิ่มขึ้นจากปี 2561-2562  ร้อยละ 6 แสดงให้เห็นว่าหน่วยจ่ายกลางมีปริมาณงานเพิ่มขึ้น ซึ่งการขนส่งเครื่องมือแพทย์ฯ ใช้แรงงานคนเข็นรถเข็นสแตนเลสบรรจุกล่องพลาสติก บรรทุกได้ครั้งละ  6 กล่อง (ขนาดกล่อง45.5x58x37 เซนติเมตร หรือ 60 ลิตร) โดยเส้นทางการขนส่งที่มีระยะทางมากที่สุดคือ 1,300 เมตร ใช้เวลาเฉลี่ย 15 นาที 10 วินาที และระยะทางที่สั้นที่สุด 500 เมตร ใช้เวลาเฉลี่ย 8 นาที 12 วินาที การติดตามสินค้าคงคลังจะใช้โปรแกรม Health Object : HO โดยสามารถค้นหาอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ฯได้จากป้ายบาร์โคด ซึ่งปัญหาที่พบได้แก่ การขนส่งและการคัดแยกอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ฯที่ล่าช้า ความสูญเปล่าจากกระบวนการทำงาน การรอคอย เส้นทางการขนส่งที่ทับซ้อนกับผู้มาใช้บริการรักษาพยาบาล เป็นต้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้สร้างแบบจำลองการขนส่งเครื่องมือแพทย์ฯ โดยออกแบบ เพิ่มช่องทางการสัญจรและกำหนดช่วงเวลาการขนส่งให้สอดคล้องกับช่วงเวลาที่ผู้มาใช้บริการฯที่ไม่หนาแน่น ซึ่งช่วยลดระยะเวลาการขนส่งได้เฉลี่ย 2 นาที รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยติดตามการขนส่ง ลดความสูญเปล่าในการทำงาน เพิ่มความรวดเร็วในการขนส่งและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตพา แสนชัยธร. (2562). กลยุทธ์การจัดการโซ่อุปทาน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณิชมน สาริพันธ์ และ รุ่งนภา กิตติลาภ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการค้าส่ง ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารและงานวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(1), 17-25.

ฝ่ายวางแผนและพัฒนาคุณภาพ. (2562). รายงานประจำปี 2562 โรงพยาบาลศรีนครินทร์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://planning.md.kku.ac.th/62anual_book/files/basic-html/page2.html.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). การจัดเตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

Čiarniene, R. (2012). Lean manufacturing: Theory and practice. [n.p.].

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Phusavat, K. and Kanchana, R. (2007). Competitive priorities of manufacturing firms in Thailand. Industrial Management & Data Systems. Industrial Management & Data Systems, 2007(7), 979-996