การศึกษาการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง จำนวนที่มากกว่า 1000 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด และวิธีการศึกษาชั้นเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง จำนวนที่มากกว่า 1000 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด และวิธีการศึกษาชั้นเรียน 2) เพื่อศึกษาผลการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง จำนวนที่มากกว่า 1000 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด และวิธีการศึกษาชั้นเรียน โดยให้นักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 มีคะแนนสอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง จำนวนที่มากกว่า 1000 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด และวิธีการศึกษาชั้นเรียนโดยให้นักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 มีคะแนนสอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (มอดินแดง) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 38 คน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนที่มากกว่า 1000 2) แบบทดสอบวัดการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ประกอบด้วย บันทึกจากการวิเคราะห์วีดิทัศน์ที่ได้จากข้อมูลวีดิทัศน์ แบบบันทึกหลังสอน ภาพและผลงานของนักเรียน คะแนนวัดการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการวิเคราะห์แนวคิดการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ในชั้นเรียนใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด เน้นการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ปัญหาปลายเปิด หาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา ทำให้นักเรียนมีการคิดที่หลากหลาย มีขั้นตอนการแสดงความคิด อธิบายวิธีคิด ให้เหตุผล สร้างความหมายในการคำนวณเชิงสัญลักษณ์ นักเรียนเกิดแนวคิดในลักษณะการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ครบทั้ง 4 องค์ประกอบ คือ (1) ด้านการคิดคล่อง นักเรียนมีวิธีการคิดหาวิธีการแก้ปัญหาได้มากกว่า 2 วิธี หาคำตอบปริมาณที่มาก ในเวลาที่กำหนด มีคุณภาพระดับคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 3.6 หมายถึง ระดับคุณภาพดีมาก (2) ด้านการคิดริเริ่ม นักเรียนมีวิธีการเพื่อแก้ปัญหาด้วยความคิดที่แปลกใหม่เหมาะสมต่อการแก้ปัญหาจริง นักเรียนมีความคิดที่แปลกใหม่แตกต่างจากความคิดปกติธรรมดา ไม่ซ้ำกับผู้อื่น มีคุณภาพระดับคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 3.6 หมายถึง ระดับคุณภาพดีมาก (3) ด้านการคิดยืดหยุ่น นักเรียนมีการคิดแก้ปัญหาโดยดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่ หรือนำสิ่งอื่นมาทดแทนสิ่งที่ขาดได้อย่างหลากหลาย มีแนวคิดทางคณิตศาสตร์ที่แตกต่างกัน มีความคิดที่คิดได้หลายๆ รูปแบบ มีคุณภาพระดับคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 3.8 หมายถึง ระดับคุณภาพดีมาก 4) ด้านการคิดละเอียดลออ นักเรียนมีการคิดแจกแจงรายละเอียดของวิธีการแก้ปัญหาหรือขยายความคิดได้อย่างครบถ้วนและมีรายละเอียดที่สมบูรณ์ และการนำเสนอแนวคิดมีความชัดเจนและง่าย โดยมีผลการประเมินคุณภาพระดับคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 3.9 หมายถึง ระดับคุณภาพดีมาก 2) ด้านผลการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียน พบว่า นักเรียนทั้งหมดจำนวน 38 คน มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 81.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ นักเรียนร้อยละ 75 มีกระบวนการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ร้อยละ 75 ขึ้นไป และ 3) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง จำนวนที่มากกว่า 1000 พบว่า นักเรียนทั้งหมดจำนวน 38 คน มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 92.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ นักเรียนร้อยละ 75 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 75 ขึ้นไป
Article Details
References
จิตรลดา ใจกล้า. (2557). การประเมินการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในโรงเรียนที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาคณิตศาสตรศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ไชยพร พิมพ์มะสอน. (2555). การแสดงแทนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้สื่อการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
นฤมล ช่างศรี. (2559). การสำรวจความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติคณิตศาสตร์ ของนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่ใช้หนังสือเรียน คณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหา. วารสารบัณฑิตวิจัย. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1. มกราคม–มิถุนายน. หน้า59-67.
นฤมล อินทร์ประสิทธ์.(2552). การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study). คณะศึกษาศาสตร์:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พรพิมล ชูสอน และ ศิราวรรณ ภูงามดี. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. Journal of Buddhist Education and Research : JBER, 6(2), 61-72.
พรสวรรค์ วงค์ตาธรรม. (2558). การคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 38(2). (เมษายน- มิถุนายน 2558). 111-121.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่21. พิมพ์ครั้งที่ 3. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์และคณะ. (2546). การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียน โดยเน้นกระบวนการทางคณิตศาสตร์. รายงานสภาวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
________. (2547). การพัฒนาวิชาชีพครูแนวใหม่เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์. KKU Journal of Mathematics Teacher Education, (1), 1-5
สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง. (2555). การสื่อสารกลุ่มย่อยทางคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนภายใต้บริบทของการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาคณิตศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.