ปัจจัยในการเลือกใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหารและ พฤติกรรมผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ศิริกาญจนา พิลาบุตร
ปัณชิกา ลับเหลี่ยม
นราธิป มังคละสินธุ์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาแอปพลิเคชันสั่งอาหาร และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้บริการสั่งอาหารผ่านทางแอปพลิเคชัน โดยมีปัจจัยที่เป็นส่วนสำคัญซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมและรูปแบบพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค (Customers Behavior Model) จะใช้เป็นแนวทางในการศึกษาถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคซึ่งมี 5 ปัจจัย คือ ความสามารถในการใช้งาน (Usability) การส่งเสริมการตลาด (Promotion) ราคา (Price) ราคาค่าส่งสินค้า (Delivery Fee) และคุณภาพของการบริการ (Service Quality) โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์เคยใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหาร ด้วยการเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามจำนวน 400 คน ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา


จากการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์เคยใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหาร รู้จักแอปพลิเคชัน Grab, LINE MAN และ Food Panda และทุกคนรู้จักแอปพลิเคชันสั่งอาหารมากกว่า 1 แอปพลิเคชัน โดยในโทรศัพท์มือถือของกลุ่มตัวอย่างแต่ละคนมีแอปพลิเคชันสั่งอาหารอย่างน้อย 2 แอปพลิเคชัน ปัจจัยที่ทำให้นิยมใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหาร คือ ความสะดวกสบาย มีความปลอดภัยต่อสุขภาพในช่วงสถานการณ์โควิด-19 แอปพลิเคชันมีการใช้งานง่าย และสะดวกสบายต่อการใช้งาน ผลจากการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันมากที่สุดคือ ความสามารถในการใช้งาน (Usability) ราคาค่าส่งสินค้า (Delivery Fee) ราคา (Price) ส่งเสริมการตลาด (Promotion) และคุณภาพของการบริการ (Service Quality) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญาวีร์ อินทร์สันต์ และ บุษกรณ์ ลีเจ้ยวะระ. (2563). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ และการสื่อสารการตลาดแบบปากต่อปากผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของลูกค้าร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์, วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 10(3). 79-91.

ไทยรัฐออนไลน์. (2564). 10 แอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์โหลดติดเครื่องไว้ไม่อด. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564, จาก : https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1808654.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

แมงโก้ คอนซัลแตนท์. (2564). แอปพลิเคชันคืออะไร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.mangoconsultant.com/en/news-knowledge/knowledge/274.

วสุดา รังสิเสนา ณ อยุธยา และ อาษา ตั้งจิต สมคิด. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการสั่งอาหารผ่านสื่อออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ ครั้งที่ 10, 1464-1478.

ศรีเพ็ญ ทรัพย์มนชัย และคณะ. (2555). การวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วิศิทธิพัฒนา.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). มูลค่าการตลาด Food Delivery ปี 2564. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.kasikornresearch.com.

สำนักบริหารการทะเบียน. (2564). สถิติทางการทะเบียนจำนวนประชากร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2564, จาก https://www.bora.dopa.go.th.

สิงหะ ฉวีสุข และ สุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2564, จาก http://www.journal.it.kmitl.ac.th.

สุชาดา พลาชัยภิรมศีลย์. (2554). แนวโน้มการใช้โมบายแอปพลิเคชัน: Usages Trend of Mobile Application. วารสารนักบริการ, 31(4), 110-115.

Bray, J. P. (2008). Consumer Behavior Theory: Approaches and Models. [Online]. Retrieved From http://eprints.bournemouth.ac.uk/10107/

Cronbach, L. J., & Meehl, P. E. (1955). Construct Validity in Psychological Tests. Psychological Bulletin, 52, 281-302.

Nguyen, T., Ninh, Nguyen, B, Plan, and Moon, H. (2019). Investigating Consumer Attitude and Intention Towards Online Food Purchasing in an Emerging Economy: An Extended TAM Approach. Food, 8(576), 1-15.