การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของตำบลสำพะเนียง อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

นฤนาท ยืนยง
พิชชานาถ เงินดีเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานโดยศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยและแนวทางในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลสำพะเนียง อ.โนนแดง จ.นครราชสีมา โดยใช้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างเชิงประมาณ โดยใช้ตารางสุ่มของเครจซี่และมอร์แกน จำนวน 350 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลหลักเชิงคุณภาพ โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง  จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ อยู่ในระดับน้อย (gif.latex?\bar{X} = 2.36, S.D.= 0.86) ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 2.72, S.D.= 0.89) ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 3.09, S.D.= 0.84) และ ด้านการมีส่วนร่วมตรวจสอบและการประเมินผล อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 2.51, S.D.= 0.83) ประชาชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนอยู่ในระดับ    ปานกลาง ด้านการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย พบว่า รับรู้ข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย โดยรวมอยู่ในระดับมาก  การศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการขยะให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลสำพะเนียง อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ควรสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะของประชาชนในชุมชน และการจัดหาสถานที่กำจัดขยะที่มีความเหมาะสมห่างไกลจากชุมชนและถูกหลักสุขาภิบาล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนลา กอบวิทยา. (2562). การบริหารจัดการขยะมูลฝอย: กรณีศึกษาเทศบาลเมืองนราธิวาส อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 2(3), 84-112.

กรมอนามัย. (2564). การวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อจัดทำข้อเสนอการจัดการมูลฝอยเสนอต่อ ศบค.นนทบุรี: สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.

ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร และวชิรวัชร งามละม่อม. (2561). แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 5(1), 172-193.

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชนองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นและราชการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

ยุวัลดา ชูรักษ์, จิรัชยา เจียวก๊ก, สันติชัย แย้มใหม่, ยุทธการ ดิสกุล และ ฉัตรจงกล ตุลนิษกะ. (2560).

รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของเทศบาลตำบลเขาหัวช้าง อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

รุ้งกานต์ พลายแก้ว และ ประภัสสร อักษรพันธ์. (2562). ผลของการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเทศบาลตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฎสุราษฎร์ธานี, 5(2), 233-248.

ศูนย์วิจัยและจัดการคุณภาพอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2554). รายงานการทบทวนวรรณกรรม การเผาขยะชุมชนในที่โล่งแจ้งและการจัดการ. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564, จาก http:/www3.med.cmu.ac.th/etc/smog/modules/.

สัญญา เคณาภูมิ. (2551). ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนใน 4 จังหวัดชายแดนลุ่มน้ำโขง. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์).

สันชัย พรมสิทธิ์. (2562). การจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(1), 67-81.

สุพรรษา พาหาสิงค์ และสัมพันธ์ พลภักดิ์. (2561). การบริหารจัดการด้านการจัดเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 4(1),132-142.

องค์การบริหารส่วนตำบลสำพะเนียง. (2560). ข้อมูลประชากร. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2560, จาก http://www.sampanieng.go.th/องค์การบริหารส่วนตำบลสำพะเนียง.

อภิญญา กงัสนารักษ.์ (2544). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในองค์กรที่มีประสิทธิผลระดับคณะของสถาบันอุดมศึกษา.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cohen, J.M. , & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press.

G.E. Berkley. (1975). The Craft of Public Administration. Boston: Allyn and Bacon.

Zhiyong, H., et al. (2019). Characteristics and management modes of domestic waste in rural areasof developing countries: a case study of China. Environ Sci Pollut Res Int, 26(9), 8485-8501.