การศึกษาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ การจัดการเรียนรู้แบบ S-STEM (Social Studies - STEM) ในรายวิชา ส 22107 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสาวิทยาสรรพ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

กรรณิการ์ เกศคำขวา
ลัดดา ศิลาน้อย
อังคณา ตุงคะสมิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ S-STEM (Social Studies - STEM) และ ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้การจัดการเรียนรู้แบบ S-STEM (Social Studies - STEM) รายวิชา ส 22107 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสาวิทยาสรรพ์ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 จำนวน 29 คน ปีการศึกษา 2562 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงการทดลองเบื้องต้น เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย (1)แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ S-STEM (Social Studies - STEM) (2)แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, (3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน และ(4)แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนทดสอบ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบ S-STEM(Social Studies -STEM) โดยรวมในระดับมาก ค่าเฉลี่ยคือ 4.07 ด้านกิจกรรม   การเรียนรู้ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยคือ 4.21 ด้านสื่อการสอนและอุปกรณ์การสอนในระดับมาก ค่าเฉลี่ยคือ 3.97 และด้านการวัดและประเมินผลในระดับมาก ค่าเฉลี่ยคือ 4.04

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนก จันทร์ทอง. (2560). การสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 Teaching of Social Studies in the 21st Century. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2560), 28(2), 227-241. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2562, จาก https://doi.nrct.go.th//ListDoi/listDetail? ResolveDOI=10.14456/asj-psu.2017.40.

กรรณิการ์ เกศคำขวา. 2562. การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบ S-STEM (Social Studies - STEM) ในรายวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสาวิทยาสรรพ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิจัยในชั้นเรียน. กาฬสินธุ์: งานบริหารวิชาการโรงเรียนสาวิทยาสรรพ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ชญานนท์ คันทมาตย์. (2560). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ส22106 สังคมศึกษา 4 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแหล่งเรียนรู้ในชุมชนภายใต้แนวคิดสะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ณิชชานน แหลมคม. (2561). การพัฒนาทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา รายวิชา ส 31102 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รงเรียนเวียงวงกตวิทยาคม จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

นัสรินทร์ บือซา. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEME ducation) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

ไปรยาลภัส สหพัฒนสมบัติ. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยบูรพา).

โรงเรียนบ้านสาวิทยาสรรพ์. (2562). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self – Assessment Report: SAR) โรงเรียนบ้านสาวิทยาสรรพ์ ปีการศึกษา 2562. กาฬสินธุ์: งานบริหารวิชาการโรงเรียนสาวิทยาสรรพ์.

ลัดดา ศิลาน้อย. (2534). การสอนสังคมศึกษาระดับประถมศึกษา. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วัชรี พิกุลทอง. (2562). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) รายวิชา ส 22102 สังคมศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2556). จรรยาบรรณ. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2562, จาก https://eit.or.th.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). หลักสูตรอบรมศึกษานิเทศก์. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). คู่มือจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาระดับชั้น มัธยมศึกษาปี ที่ 1-3. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของ สกสค.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2561).ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2562, จาก https://www.ocsc.go.th/digital_skills2.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562 การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภา.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. สำนักนายกรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2562, จาก https://www.nesdb.go.th/main.php?filename=index.

แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย. (2561). การเรียนรู้เชิงรุก : กิจกรรมท้าทายสำหรับผู้เรียนในยุคการศึกษา 4.0. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(3), 61-71.

อับดุลยามีน หะยีขาเดร์. (2559). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching And Assessing: A Revision of Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives: Complete Edition. New York: Longman.

Osborn, A. F. and Parnes, S. J. (1966). The Osborn-Parnes Creative Problem Solving Procedure. Munich: GRIN Verlag.