ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานของกลุ่ม Generation Y ที่เป็นเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

กัญญารัตน์ พัฒนประสิทธิ์ชัย
ณิชาพร ฤทธิบูรณ์
สุธนา บุญเหลือ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะและพฤติกรรมการทำงานของเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่ม Generation Y และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานของเจ้าหน้าที่ Generation Y มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามด้วยมาตรวัดแบบ Likert จำนวน 5 ระดับ ทำการเก็บข้อมูลจากเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ (29 ราย)  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (187 ราย) และมหาวิทยาลัยนครพนม (50 ราย) รวมจำนวน 266 ราย มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอย  เชิงเส้นอย่างง่าย ผลการวิจัย พบว่า เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่ม Generation Y ส่วนใหญ่มีคุณลักษณะแบบเปิดรับประสบการณ์ มีความสัมพันธ์และผลกระทบต่อพฤติกรรมการทำงานด้านความพึงพอใจในการทำงานสูงสุด โดยที่เจ้าหน้าที่กลุ่ม Generation Y มักให้ความสนใจกับความท้าทายของงานและผลสำเร็จของงาน มีการเปิดใจยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีและชอบงานที่ท้าทายเพื่อค้นพบสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลพร สอนศรี และพสชนนัน นิรมิตรไชยนนท์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานของข้าราชการ/พนักงานราชการ Generation Y. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 7(1), 39-66.

เกียรติ บุญยโพ. (2562). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคใหม่. วารสารการจัดการปริทัศน์, 21(1), 165-170.

จิรัชญา ศุขโภคา และสันติธร ภูริภักดี. (2562). รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานเจนเนอเรชั่นเอ๊กซ์และเจนเนอเรชั่นวายในองค์กรเอกชน. Humanities, Social Science and Arts, 12(4), 1586-1600.

จันจีรา โสะประจิน. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรการทำงานของพนักงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์: กรณีศึกษา บริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน). ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการทั่วไป). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชัยนาท ชัยมะลิ และสืบชาติ อันทะไชย. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 14-28.

ธิดารัตน์ สิริวราวุธ และวาสินี วิเศษฤทธิ์. (2561). การศึกษาความผูกพันในงานของพยาบาลวิชาชีพ Generation Y. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(พิเศษ), 197-205.

เดชา เดชะวัฒนไพศาล และคณะ. (2557). การศึกษาเจนเนอเรชั่นเอ๊กซ์และเจนเนอเรชั่นวายในมุมมองคุณลักษณะของตนเองและความคาดหวังต่อคุณลักษณะของเจนเอนเรชั่นอื่น. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 36(141), 1-17.

ทิพย์วิมล จรลี. (2558). บุคลิกห้าองค์ประกอบ ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและการรับรู้พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของพนักงานกลุ่มบริษัทผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กแห่งหนึ่ง. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรรณวดี สถิตถาวร และประจวบ เพิ่มสุวรรณ. (2553). ทัศนคติของคนรุ่น Gen Y ต่อการทำงานในระบบราชการ. ฐานข้อมูลผลงานวิจัยด้านการตรวจราชการและติดตามประเมินผล. กรุงเทพฯ.

มนิษา โล่ห์เจริญกาล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย กรณีศึกษา พนักงานสายสนับสนุน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน). บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศรีกัญญา มงคลศิริ. (2548). Power gensbranding. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์.

สุธรรม อารีกุล และคณะ. (2540). โครงการศึกษาวิจัยเรื่องอุดมศึกษาไทย วิกฤตและทางออก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เสฏฐวุฒิ หนุ่มคำ และคณะ. (2559). แนวคิดและพฤติกรรมการปฏิบัติงานร่วมกันตามคุณลักษณะด้านทักษะและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของเจนเนเรชั่นวายและเจนเนอเรชั่นเอ๊กซ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(4), 248-260.

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2561). สถาบันอุดมศึกษาในสังกัด. สืบค้นจาก https://www.mhesi.go.th/home/index.php/service/45-education-service/96-higher-education-service

อาทิตยา กลับเพิ่มพูล. (2549). การมองโลกในแง่ดี บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ และความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค : ศึกษาเฉพาะกรณีหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making. 4th ed. USA: John Wiley & Son.

Costa, P.T., & McCrae R.R. (1985). Updating Norman's "adequacy taxonomy": Intelligence and

personality dimensions in natural language and in questionnaires. Journal of Personality and Social Psychology, 49(3), 710-721.

______. (1992). Revised Neo personality inventory (Neo PI-R) and Neo five-factor inventory (Neo-FFI): professional manual. Florida: Psychological Assessment Resources.

Hurst, J., & Good, L. (2009). Generation Y and Career Choice : the Impact of Retail Career

Perspections, Expectations and Entitlement Perceptions. Career Development International, 14(6), 570-593.

Tolbize, A. (2008). Generational differences in the workplace. Research and Training Center

on Community Living at University of Minnesota. Minneapolis : University of Minnesota.