สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ยุควิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

Main Article Content

สินีนาฎ นาสีแสน
สุมาลี ศรีพุทธรินทร์
วัชรี แซงบุญเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 2) ประเมิน   ความต้องการจำเป็น 3) พัฒนาแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนยุควิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 339 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 4 ฉบับคือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนยุควิถีใหม่ 2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนยุควิถีใหม่ 3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนยุควิถีใหม่ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนยุควิถีใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนยุควิถีใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การประเมินความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนยุควิถีใหม่ที่มีค่าสูงกว่าค่าโดยรวม ได้แก่ งานพัฒนากระบวนการเรียนรู้ งานห้องสมุดแหล่งเรียนรู้ งานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนยุควิถีใหม่ พบว่ามีความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชกร มั่นคงเจริญกิจ. (2562). ครูผู้สร้างการเรียนรู้ในสถานการณ์แห่งชีวิต. ใน รายงานเรียนออนไลน์ยุคโควิด-19 : วิกฤตหรือโอกาสการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

กรรณิกา อาจญาทา. (2558). บทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด).

กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). บทความปริทัศน์ เรื่อง การจัดการเรียนรู้ ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), 1-6.

จริยา ปันทวังกูร และ กิตติศักดิ์ ดียา. (2563). การจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3), 289-303.

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 New Normal Based Design in Education: Impact of COVID-19, คุรุสภาวิทยาจารย์ Journal of teacher professional development. 1(2), 1-10.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พรพรรณ พรหมธาดา. (2559). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามแนวคิดการเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตอุตรดิตถ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์).

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด–19. วารสารศิลปการจัดการ, 4(3), 784-794.

ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2563). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19: จากบทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย, ใน รายงานเรียนออนไลน์ยุคโควิด-19 : วิกฤตหรือโอกาสการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

รสสุคนธ์ อาจวิชัย. (2559). สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต อุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).

วรรณา อุ่นคำ. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2563). New normal ทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิลัดดา เรืองเจริญ. (2558). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. (2564). ข้อมูลพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2564 [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์], จาก https://data.boppobec.info/emis/Schooldata.-view.php?School_ID=1047540663&Area_CODE=101723.

_______. (2564). แผนปฏิบัติงาน ประจำปีการศึกษา 2564. สกลนคร: เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2564 [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์], จาก https://www.sesarea23.go.th/home/?name=page&link=Plan_budget64.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2562). การประคุณภาพทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครพนม: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม.

Alimun N, A. (2020). Environmental Disaster Education at University: An Overview in New Normal of COVID-19. International Journal for Educational and Vocational Studies, 2(8), 714-719.

Richardson and Marianna, E. (2020). Social Media in the Classroom. The New Normal for University Education after COVID. International Dialogues on Education, 7(Special Issue).