สภาพ ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

Main Article Content

ไพวรรณ บุญเหลา
สุมาลี ศรีพุทธรินทร์
วัชรี แซงบุญเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 2) ประเมินความต้องการจำเป็น และ 3) พัฒนาแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 250 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบตารางของ Krejcie and Morgan ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 4 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ 2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ 3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ สถิติ ที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การประเมินความต้องการจำเป็นของการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการที่มีค่าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านความสามารถในการแข่งขัน ด้านความสามารถด้านดิจิทัล และด้านการทำงานเชิงรุก และ 3) ผลการประเมินแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2561). ผู้ประกอบการยุคใหม่ ทำอย่างไรจึงจะสำเร็จ. กรุงเทพฯ: บริษัทเมจิกเพรส จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship Education). (รายงานวิจัย )กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

ชนัญญา สุขสมวัฒน์. (2562). แนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการของนักเรียน : คราวน์ซอร์สซิ่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยการวิจัยการศึกษา,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ชัยนาท ชัยมะลิ และสืบชาติ อันทะไชย. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 14-28.

พรญาณี หิรัญศุภโชติ. (2562). แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ที่ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีที่สร้างความพลิกผันของนักศึกษาหญิงในระดับปริญญาตรี. Veridian E-journal, 12(4), 384-412.

วชิระ ขวัญเพชร. (2561). การจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์จังหวัดชายแดนภาคใต้. ใน บทสรุปสำหรับผู้บริหาร: รายงานการศึกษาส่วนบุคคล หลักสูตรพัฒนาผู้บริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ (นบส.ศธ.) รุ่นที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

วิเลิศ ภูริวัชร, สุชาติ ไตรภพสกุล และชาคริต พิชญางกูร. (2558). การศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมเกื้อหนุนต่อการสร้างสังคมความเป็นผู้ประกอบการ: กรณีศึกษาประเทศไทย. สุทธิปริทัศน์, 30(95), 92 – 101.

วิไล พึ่งผล. (2561). สมรรถนะทางปัญญาเชิงธุรกิจของผู้ประกอบการยุคใหม่สำหรับ SMEs ไทยเพื่อผลประกอบการธุรกิจในยุคประเทศไทย 4.0. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

สำคัญสุด สีหตุลานนท์. (2560). ปัจจัยแวดล้อมที่เกื้อหนุนต่อการเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ กรณีศึกษา นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2563-2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. นครพนม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครพนม. (2561). รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาครูและนักเรียนสู่การเป็นผู้ประกอบการใหม่ในสถานศึกษาจังหวัดนครพนม. นครพนม: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครพนม.

สุชาติ ไตรภพสกุล และชาคริต พิชญางกูร. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุต่อการเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ของประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจนิด้า, 7(22), 40 – 60.

สุธีรา อะทะวงษา. (2556). คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ และลักษณะของสถานประกอบการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

สุวิชญา ชินธนาชูกิจ. (2563). กลยุทธ์การพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ โรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Androutsos, T. and Brinia, V. (2019). Developing and Piloting a Pedagogy for Teaching Innovation, Collaboration, and Co-Creation in Secondary Education Based on Design Thinking, Digital Transformation, and Entrepreneurship. Athens University of Economics and Business, 10434 Athens, Greece. Retrieved from file:///C:/Users/ASUS/Downloads/education-09-00113-v2.pdf

Chaston, I. and Sadler-Smith, E. (2012). Entrepreneurial Cognition, Entrepreneurial Orientation and Firm Capability in the Creative Industries. British Journal of Management, 23(3), 415-432.

Dess, G.G. Lumpkin, G.T. and Taylor, M.L. (2005). Strategic Management: Text and Cases. Boston: McGraw-Hill Irwin.

Krejcie, R.V. & Mogan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Lackeus, M. (2015). Entrepreneurship in education what, why, when, how. OECD. Retrieved from https://www.oecd.org/cfe/leed/BGP_Entrepreneurship-in-Education.pdf

Porfirio, J. (2016). Entrepreneurship in Different Contexts in Cultural and Creative Industries. Journal of Business Research, 69(11), 5117–5123.

Swanson, L.A. (2017). Entrepreneurship and Innovation. Toolkit. Pressbook. Retrived from https://openpress.usask.ca/entrepreneurshipandinnovationtoolkit/.