สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาทักษะความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

Main Article Content

รุ่งฤดี ศิริ
ชาญวิทย์ หาญรินทร์
วัชรี แซงบุญเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของ ทักษะความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับครู (2) ประเมินความต้องการจำเป็นของทักษะความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับครู (3) พัฒนาแนวทางพัฒนาทักษะความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครู จำนวน 288 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ และได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 4 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของทักษะความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับครู (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของทักษะความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับครู (3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างของแนวทางพัฒนาทักษะความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับครู และ (4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาทักษะความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับครู สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNI Modified) ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความต้องการจำเป็นของทักษะที่มีค่าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ทักษะในการรับมือกับการคุกคามบนโลกออนไลน์ ทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองบนโลกออนไลน์ และ (3) แนวทางพัฒนาทักษะความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับครู โดยรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณกันยา ไวคำ. (2563). “ครูบ้านนอก.คอม,” การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นโดยใช้การนิเทศแบบร่วมพัฒนา. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=176353

ธนวัฒน์ เจริญษา. (2563). ความฉลาดทางดิจิทัลกับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 3(2), 21-29.

ธัญลักษณ์ จำจด. (2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ของครู กศน.ตำบล สังกัด สำนักงาน กศน.จังหวัดชลบุรี. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ) ปทุมธานี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

นิตยา นาคอินทร์. (2563). 8 ทักษะ ความฉลาดทางดิจิทัล ของนักศึกษาวิชาชีพครูสู่การเป็นพลเมือง 4.0. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 14(1), 9-10.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: บริษัทสุวีริยาสาส์น.

ราณี จีนสุทธิ์. (2564). แนวทางการพัฒนาครูวิถีใหม่ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล. ครุสภาวิทยาจารย์. 2(2), 27-30.

วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล. (2564). การกลั่นแกล้งกันในพื้นที่ไซเบอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: ความชุก วิธีการจัดการปัญหา และพฤติกรรมเสี่ยง. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 275-289.

สรานนท์ อินทนนท์. (2563). ความฉลาดทางดิจิทัล DQ Digital Intelligence (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัทวอร์ค ออน คลาวด์ จำกัด.

สำนักโฆษก. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2559). ผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นดิจิทัลไทยแลนด์. วารสารไทยคู่ฟ้า, 8(3), 12-14.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2563- 2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. นครพนม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). ครูไทยยุคใหม่ สนใจดิจิทัล (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวาน กราฟิก จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวปฏิบัติของการสร้างและส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครู พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวาน กราฟิก จำกัด.

อติพร เกิดเรือง. (2563). การส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลของสังคมไทย. วารสารมนุษย์ศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 8(2), 10-11.