การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการอุทกภัย: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ศิเรมอร ยงพานิช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการอุทกภัยกับเทศบาลตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา รวมทั้งผลลัพธ์จากการมีส่วนร่วมในการจัดการอุทกภัย และแนวทางพัฒนาการจัดการอุทกภัยที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่เทศบาลตำบลเชิงแส เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยผู้วิจัยใช้    การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอุทกภัยในเขตเทศบาลตำบลเชิงแส และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการอุทกภัยอยู่ในลักษณะร่วมมือกันระหว่างประชาชนกับเทศบาล โดยประชาชนทำหน้าที่เป็นผู้ให้ข้อมูล เสนอความคิดเห็น และร่วมจัดการปัญหากับเทศบาล (2) ผลลัพธ์จากการมีส่วนร่วมในการจัดการอุทกภัยส่งผลให้ประชาชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ ขณะที่เทศบาลสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามาจัดการปัญหาอุทกภัยด้วยตนเอง ทำให้ประชาชนเกิด          ความไว้วางใจและมีความสัมพันธ์ในลักษณะพึ่งพาอาศัยกันเพื่อร่วมจัดการปัญหาอุทกภัย และ (3) แนวทางพัฒนาการจัดการอุทกภัยที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่เทศบาลตำบลเชิงแส พบว่าเทศบาลต้องสร้างความตระหนักให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วม และสร้างความเป็นพลเมืองที่มีขีดความสามารถในการจัดการอุทกภัยด้วยตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2558). แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.

ดุษฎี อายุวัฒน์, ปนัดดา ภู่เจริญศิลป์, และวณิชชา ณรงค์ชัย. (2559). ปฏิบัติการของชุมชนเพื่อลดความเสี่ยงภัยพิบัติ กรณีศึกษาน้ำป่าไหลหลากดินโคลนถล่มจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 8(1), 199-220.

พงษ์เมธี ไชยศรีหา. (2561). ความรู้ความเข้าใจในหลักการประชาธิปไตยและทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตยในเขตเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(3), 9-23.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1-99.

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา. (2560). เหตุสาธารณภัยจังหวัดสงขลา ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564, จาก http://ska.disaster.go.th/ cmsdetail.dpmsk-1.146/24278/inner_758/4039.1/ B5++2560

สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัมพร แก้วหนู. (2554). ขบวนชุมชนจัดการอุทกภัย: ทำไม และอย่างไร?. ใน พรรณทิพย์ เพชรมาก, อัมพร แก้วหนู, อุดมศรี ศิริลักษณาพร และจันทนา เบญจทรัพย์ (บรรณาธิการ). พลังชุมชนท้องถิ่นจัดการภัยพิบัติอย่างยั่งยืน (หน้า 13-17). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิสคอมเซ็นเตอร์.

Abarquez, I., and Murshed, Z. (2004). Community-based disaster risk management: Field practitioners’ handbook. Pathumthani: Asian Disaster Preparedness Center.

Chhotray, V., and Stoker, G. (2009). Governance theory and practice: A cross-disciplinary approach. New York: Plagrave Macmillan.

Denhardt, J. V., and Denhardt, R. B. (2007). The new public service: Serving not steering (expanded edition). New York: M.E. Sharpe.

Fischer, F. (2012). Participatory governance: From theory to practice. In D. Levi-Faur (Ed.), Oxford handbook of governance (pp. 457-471). New York: Oxford University Press.

Khunwishit, S., Choosuk, C., and Webb, G. (2018). Flood resilience building in Thailand: Assessing progress and the effect of leadership. International Journal of Disaster Risk Science, 9(1), 44-54.

McLaverty, P. (2011). Participation. In M. Bevir (Ed.), The SAGE handbook of governance(pp. 402-418). Los Angeles: SAGE.

Nambisan, S., and Nambisan, P. (2013). Engaging citizens in co-creation in public service: Lesson learned and best practices. Washington, DC: IBM Center for The Business of Government.

Perwaiz, A., Sinsupan, T., and Murphy, K. (2015). Empowering communities & strengthening resilience. Bangkok: Asian Disaster Preparedness Center.

Pribadi, K. S., Argo, T., Mariani, A., and Parlan, H. (2011). Implementation of community based disaster risk management in Indonesia: Progress, issues and challenges. In R. Osti & K. Miyake (Eds.). Forms of community participation in disaster risk management practices (pp. 1-15). New York: Nova Science.

Saito, F. (2008). Decentralization and local governance: Introduction and overview. In F. Saito (Ed.), Foundations for local governance: Decentralization in comparative perspective (pp. 1-24). Heidelberg: Physica-Verlag.

Shaw, R. (2006). Critical issues of community based flood mitigation: Examples from Bangladesh and Vietnam. Journal of Science & Culture Special Issue on “Flood Disaster Risk Reduction in Asia”, 72(1-2), 1-17.