อิทธิพลของภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ และประสิทธิผลการทำงาน ในสำนักงานบัญชีของผู้ทำบัญชี

Main Article Content

อาทิตยานันท์ ยุระยาตร์
อุษณา แจ้งคล้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชี 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และประสิทธิผลการทำงานของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชี  และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชี  โดยมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน ในการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ทำบัญชีจากสำนักงานทั่วประเทศ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรการคำนวณของ Krejcie and Morgan โดยผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มกระจายทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทยผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามตอบกลับจำนวนทั้งสิ้น 206 ฉบับ ใช้สถิติการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยและทดสอบสมมติฐานพบว่า ภาวะผู้นำส่งผลในเชิงบวกต่อประสิทธิผลในการทำงานของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และเมื่อมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานเป็นตัวส่งผ่าน ซึ่งไม่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  จึงสรุปได้ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบสมบูรณ์ ระหว่างภาวะผู้นำกับประสิทธิผลในการทำงาน ทั้งนี้อาจจะเห็นได้ว่าภาวะผู้ทำส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และเมื่อเกิดความพึงพอใจในการทำงานแล้วก็จะทำให้การปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นผู้นำจึงต้องมีกลยุทธ์และแนวการปฏิบัติที่ผู้ทำบัญชีเกิดความมั่นใจ และเชื่อมั่นในองค์กรของตนเอง ซึ่งจะสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ทำบัญชี และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีทั่วประเทศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.dbd.go.th/download/article/article_20191203154524.pdf

จารุวรรณ บุญพรมมา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารและความพึงพอใจในการทำงาน ของนักบัญชี สำนักงานบัญชี ในจังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ชูเกียรติ ชาตะรูปะ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร).

เชษินีร์ แสวงสุข. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพรพรรณี).

ธีรพงศ์ ฉุนกล้า. (2564). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อผลการปฏิบัติงาน ผ่านแรงจูงใจและความพึงพอใจในงานของพนักงานบริษัทผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรมเหล็ก จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์).

นฤมล จิตรเอื้อ และคณะ. (2560). บทบาทภาวะผู้นำในการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้. วารสาร Veridian E Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2),1738-1754.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูล. (2556). ระเบียบวิธีวิจัย: แนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย จำกัด.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 ( ปรับปรุง 2561). สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม2564, จาก https://www.tfac.or.th/upload/9414/HozohCadYC.pdf

Baron, R. M., & Kenny, D. A. (1986). The moderator-mediatorvariable distinction in social psychological research: Conceptual, strategic, and statistical considerations. Journal of Personality and Social Psychology,51, 1173-1182.

Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper and Row.Chemers. Gilmer, Beverly von Haller. (1996). Industrial Psychology (2ed). New York: McGraw-Hill Book.

Keith, Davis, Keith; & Newstrom, J. W. (1985). Human Behavior at Work : Organizational Behavior. (7th ed.). New York: McGraw-Hill.

Koh, W. L. (1991). An empirical validation of the theory of transformational leadership in secondary in Singapore. Dissertation Abstracts International, 46(6A), 1330.

Kotter, J. P. & Cohen, D. S. (1990). The Heart of Change. Boston, Massachusetts: Harvard Business School Press.

Krejcie R. V. and Morgan D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 3. pp. 607-610.

Lawrence, P. R., & Lorsch, J. W. (2010). Organization and environment. boston Massachusetts: Cambridge.

Maslow, Abraham H. (1954). Motivation and Personality. New York: Harper & Row Publishers.