การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค TGT เรื่อง คํายืมภาษาบาลี - สันสกฤตในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

พระนิวัฒน์ มหาโชติวฑฺฒโน
พระมหาไพจิตร อุตฺตมธมฺโม
พิกุล ทองภู
อัษฎาวุธ ไชยอุดม
พรภวิษย์ นันทชัชวาลย์กุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค TGT เรื่อง คํายืมภาษาบาลี - สันสกฤตในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่องคำยืมภาษาบาลี – สันสกฤตในภาษาไทย ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค TGT การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค TGT เรื่องคำยืมภาษาบาลี – สันสกฤตในภาษาไทย จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบออนไลน์เรื่องคำยืมภาษาบาลี - สันสกฤตในภาษาไทย แบบปรนัยจำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค TGT เรื่อง คํายืมภาษาบาลี - สันสกฤตในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 20 ข้อ


ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค TGT เรื่อง คํายืมภาษาบาลี - สันสกฤตในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.67/81.42 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องคำยืมภาษาบาลี – สันสกฤตในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค TGT เรื่อง คํายืมภาษาบาลี - สันสกฤตในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา นาคสกุล. (2554). ระบบเสียงอักษรไทย การอ่านคำและการเขียนสะกดคำ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). (หน้า 14 - 44). สถาบันภาษาไทย.

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2520). การนำคำบาลีและสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทย. ราชบัณฑิตยสถาน, 3(2), 37.

จุไรภรณ์ จันทร์จิตตะการ. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมหาจุฬานาครทรรน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช, 6(6), 2712 - 2727. https://bit.ly/3rz2ZCk

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชัน.

ทองเทียม ศรีสร้างคอม. (2554). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือรูปแบบการแข่งขันเป็นทีม TGT เรื่องมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษา ปีที่3. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิตินัย พีระวัธน์กุล. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TGT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิพา บุญกอง. (2555). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเปลี่ยนรูปและสระลดรูป ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้โปรแกรม e-book ประกอบแบบฝึกทักษะ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ, วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์. (2557). การพัฒนาแบบฝึกการแต่งโคลงสี่สุภาพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.วิทยานพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอนบัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรสวรรค์ ศิริกัญจนาภรณ์ เสาวภา สุขประเสริฐ และวิไลวรรณ ไปนา. (2564). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 18(2), 21 - 30. https://bit.ly/3KujiZN

มานพ ศรีเทียม ศุภรดา สุขประเสริฐ และอมรา ศรีแก้ว. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้กิจกรรมค่ายวิชาการของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านชัยภูมิ จังหวัดกําแพงเพชร. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร, 5(10), 95 - 104. https://bit.ly/3GICVem

รดา วัฒนะนิรันดร์. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ TGT โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาการอ่าน เขียนคำอักษรนำสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ลลิตา อุ่นทอง. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องคำบาลีสันสกฤตที่ได้รับการสอน โดยใช้เกมกับการสอนแบบปกติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางกะปิสุขุมนวพันธ์อุปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สารสิน เล็กเจริญ. (2554) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TGT กับการสอนแบบปกติ . มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุนิสา เจริญยิ่ง. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT เรื่องการสะกดคำภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ, วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุพัตรา ไพบูลย์วัฒนกิจ. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การสร้างคำในภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันโดยใช้เทคนิค TGT ร่วมกับแบบฝึก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัมราภรณ์ จันทร์วิเศษ. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องการอ่านจับใจความชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA ประกอบแบบฝึกทักษะ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ, วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.