ความรับผิดในทางละเมิดโดยการกระทำของลูกเลี้ยงซึ่งเป็นผู้เยาว์

Main Article Content

นันทนา ศิริชาติ
อภิเชษฐ เสมอใจ

บทคัดย่อ

        เมื่อมีการกระทำความผิดฐานละเมิดโดยผู้เยาว์ตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ปกครองซึ่งเป็นบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้นตามมาตรา 429 ด้วย กรณีที่บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสมรสใหม่ อำนาจปกครองบุตรจะยังอยู่กับบิดามารดาที่บุตรนั้นติดมาด้วยตามหลักเกณฑ์มาตรา 1568 โดยที่พ่อเลี้ยงและแม่เลี้ยงไม่มีอำนาจร่วมปกครองลูกเลี้ยงที่เป็นผู้เยาว์นี้ ด้วยเหตุนี้พ่อเลี้ยงและแม่เลี้ยงจึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดตามมาตรา 429 แม้ว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 4 จะกำหนดให้พ่อเลี้ยงและแม่เลี้ยงถือเป็นผู้ปกครองด้วยก็ตาม


          นอกจากนี้ ด้วยกฎหมายมิได้กำหนดหน้าที่ตามกฎหมายให้พ่อเลี้ยงและแม่เลี้ยงมีหน้าที่ดูแล อุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาลูกเลี้ยงซึ่งเป็นผู้เยาว์ ดังนี้ พ่อเลี้ยงและแม่เลี้ยงจึงไม่ต้องร่วมรับผิดในทางละเมิดของลูกเลี้ยงนั้นตามมาตรา 430 ดังนั้น หากบิดาหรือมารดาพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลบุตรผู้เยาว์เท่าที่จะทำได้แล้ว และพ่อเลี้ยงและแม่เลี้ยงนั้นก็มิได้เป็นผู้ดูแลตามมาตรา 430 ผู้เสียหายที่ได้รับการกระทบกระเทือนสิทธิจากการกระทำละเมิดโดยลูกเลี้ยงซึ่งเป็นผู้เยาว์ก็จะไม่ได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย


          ด้วยเหตุประการดังกล่าว จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 430 ให้ชัดเจน โดยบัญญัติเพิ่มเติมให้พ่อเลี้ยงและแม่เลี้ยงมีหน้าที่ตามกฎหมายในการดูแลลูกเลี้ยงซึ่งเป็นผู้เยาว์ของอีกฝ่ายและเป็นผู้ร่วมรับผิดร่วมกับลูกเลี้ยงซึ่งเป็นผู้เยาว์นั้นด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิตติบดี ใยพูล. (2564). ปกิณกะกฎหมายความรับผิดเพื่อละเมิด. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564 จาก https://law.kku.ac.th/wp/wp-content/uploads/2018/08/Tort-8-ปกิณกะกฎหมายความรับผิดเพื่อละเมิดกิตติบดี.pdf.

จิตติ ติงศภัทิย์. (2557). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรียงมาตราว่าด้วย จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ ละเมิด บรรพ 2 มาตรา 395-452. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.

จี๊ด เศรษฐบุตร. (2556). หลักกฎหมายแพ่งลักษณะละเมิด. โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. อัดสำเนา.

คชา ชิตโชติ. (2554). ของตกหล่นจากโรงเรือน. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สายสุดา นิงสานนท์. (2525). ความรับผิดเด็ดขาดในกฎหมายลักษณะละเมิด. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2564). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564 จาก http://www.krisdika.go.th.

______. (2564). พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564 จาก http://www.krisdika.go.th.