อิทธิพลของปัจจัยทางการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เวชสำอางกลุ่มสิวจากร้านสะดวกซื้อของลูกค้าในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เวชสำอางกลุ่มสิวจากร้านสะดวกซื้อของลูกค้าในกรุงเทพมหานคร ปัจจัยทางการตลาดและปัจจัยทางการตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เวชสำอางกลุ่มสิวจากร้านสะดวกซื้อของลูกค้าในกรุงเทพมหานคร โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคที่ซื้อผลิตภัณฑ์เวชสำอางกลุ่มสิว จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยส่วนบุคคลโดยสถิตเชิงพรรณนา จากการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนหรือเปรียบเทียบ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไปเป็นการทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โมเมนต์ผลคูณอย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ด้านสถานภาพ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เวชสำอางกลุ่มสิวจากร้านสะดวกซื้อของลูกค้าในกรุงเทพมหานคร ในส่วนของปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เวชสำอางกลุ่มสิวจากร้านสะดวกซื้อของลูกค้าในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด และปัจจัยทางการตลาดออนไลน์ ได้แก่ ด้านเว็บไซต์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ค่าอิทธิพลมีประสิทธิภาพร้อยละ 42.50
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกตุวดี สมบูรณ์ทวี. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรองเท้าแฟชั่นตราสินค้าหนึ่ง ผ่านช่องทางออนไลน์. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 6(1), 1818.
คมสัน ตันสกุล. (2560). การตลาดดิจิทัล. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2558). เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. วารสารบัณฑิตศึกษา, 12(58), 13.
จุฑารัตน์ ทองสนิท, ชนิกานต์ หวั่งประดิษฐ์, ลักษมณ อนันตประยูร, สุมาลี พิมเขียว, ทาริกา สระทองคำ และศุภชัย เหมือนโพธิ์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าออร์แกนิกของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 3(2), 9-19.
ธนิดา อัศวโยธิน. (2562). การตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
นภาทิพย์ ไตรกุลนิภัทร. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กันแดดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
นันฑริกา เครือสา และพัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2563). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวแบรนด์ เอด ลีฟ ของลูกค้าใน กรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา, 15, 206-220. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.
พิพัฒน์ ไชยพัฒน์. (2562). ปัจจัยที่ส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์โฟมล้างหน้าของผู้บริโภค. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก).
รสริน สุขสำราญ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเวชสำอาง (Cosmeceuticals) ในเคาน์เตอร์โรงพยาบาลเปรียบเทียบระหว่างโรงพยาบาลรัฐบาล กับโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ระบบสถิติทางการทะเบียน. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย 2563. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2564, จากhttps://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/Home.php
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่: (Marketing Management) ฉบับปรับปรุงใหม่ ปี 2560. กรุงเทพฯ: Diamond In Business World.
ศิวพร ลีลาวัฒนสุข. (2553). การโฆษณาแบนเนอร์บนเว็บไซต์. วารสารนักบริหาร, 30(3), 117-121.
ศึกษา กังสนานนท์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศของผู้อุปโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(3), 84-95.
ศูนย์วิจัยกรุงศรี. (2564). แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย ปี 2564-2566 ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่.สืบค้น 10 เมษายน 2564, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/Industry-Horizon/industry-summary-outlook-2021-2023
เหมือนจิต จิตสุนทรชัยกุล. (2561). พฤติกรรรมผู้บริโภคกับธุรกิจค้าปลีก. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น
Acne Treatment Market. (2019). สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2564, จาก https://www.fortune businessinsights.com/acne-treatment-market-103361.
Armstrong, Kotler. (2015). Principle of Marketing (15th ed). United States of America: Pearson Education.
Cochran, W.G. (1997). Sampling Techniques. New York: John Wiley&sons.
Euromonitor International. (2562). เทรนด์ความงามและผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัวของชาวเอเชีย. สืบค้น 8 เมษายน 2564, จาก https://www.brickinfotv.com/news/86487/
Jaslyn. (2016). เวชสำอาง VS เครื่องสำอาง ต่างกันอย่างไร? ตอนที่ 1. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564, จาก https://www.jaslynsense.com
Philip Kotler and Kevin Lane Keller. (2016). Marketing Management (15th ed.). New York: Pearson Education Inc.
Marketingoops. (2018). ค้าปลีกไซส์เล็ก ค้าปลีกไทย พร้อมถอดกลยุทธ์ 5 ยักษ์ร้านสะดวกซื้อ (Convenience Stores). สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2564, จาก https://www.marketingoops.com/news/biz-news/small-retail-format-rising-star-in-thai-retail-industry/
moneybuffalo. (2563). ธุรกิจความงาม ประเภทไหน โตสวนกระแสโควิด 19. สืบค้น 15 เมษายน 2564, จาก https://www.moneybuffalo.in.th/business/