การศึกษาความต้องการความเป็นองค์กรนวัตกรรมของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธัญรดี หิรัญกิตติกร
จุลดิศ คัญทัพ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการความเป็นองค์กรนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร  2) เพื่อพัฒนาแนวทางความเป็นองค์กรนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและข้าราชการครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร จำนวน 395 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และเมอร์แกน Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). ได้ขนาดตัวอย่าง 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม (Google Form) มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย(Means) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation)ของระดับความต้องการ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการความเป็นองค์กรนวัตกรรมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร โดยรวมทั้ง  6  ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสำคัญของบุคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม  ด้านการสื่อสาร ด้านโครงสร้างและองค์กรที่เหมาะสม ด้านบรรยากาศที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านการพัฒนาบุคลากร 2) แนวทางความเป็นองค์กรนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 6 ด้าน 6 แนวทางการพัฒนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลชาติ อุปรี. (2559). รูปแบบนวตักรรมการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 3. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค.

ชวน ภารังกูล. (2556). การศึกษาความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดราชบุรี(รายงานการวิจัย).ชลบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง.

ปานชนก ด้วงอุดม. (2562). การศึกษาสภาพการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา) พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562. (2562, 30 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก. หน้า 102.

สิริภักตร์ ศิริโท. (2560). ความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 14 (1), 159 - 177.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2563). สถิติการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๓ โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. (รายงาน). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ พจน์กล่องกระดาษ.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2549). สุดยอดนวัตกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). ประเทศไทย 4.0. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564 จาก, http://planning2.mju.ac.th/goverment/20111119104835_planning/Doc_25590823143652_358135.pdf

อนุพงษ์ ชุมแวงวาปี. (2561). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12 (3), 207 - 219.

ไอริน โรจน์รักษ์ . (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นองค์การนวัตกรรมกับสมรรถนะในการสร้างสรรค์นวัตกรรม: กรณีศึกษา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Aniruth Boonkua. (2019). Innovative Organization of School under the Office of the Basic Education(OBEC): A Second Order Confirmatory Factor Analysis. International Journal of Industrial Education and Technology,1(1), 67-76 from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/IJIET/article/view/228606/164152

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychogical Measurement, 30(3), 607-610.